ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร
นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2546ถึงปีพ.ศ.
2551รวมเป็นเวลา6
ปี ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย มาตรฐาน
การเรียนรู้เป็นเป้าหมายและมีกรอบทิศทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้เป็นคนดีคนเก่ง
มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ในเวทีโลก
พร้อมทั้งได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่2) พ.ศ.
2545 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมใน
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น
(กระทรวงศึกษาธิการ2551)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะ6
ปีที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ(2551: 1-3)ได้มีข้อมูลสนับสนุนถึงความจำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวจาก
3 แหล่ง ดังนี้
1.จากข้อมูลการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
เป็นหลักสูตรที่มีทั้งส่วนดีและส่วนที่เป็นปัญหา ส่วนดีได้แก่
ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษา
ให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องความต้องการของท้องถิ่น
และมี แนวคิดและหลักการในการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน
สำหรับส่วนที่เป็นปัญหาได้แก่ความไม่ ชัดเจนของกระบวนการหลักสูตร ตั้งแต่
เอกสารหลักสูตรกระบวนการพัฒนา หลักสูตรสู่การปฏิบัติ และผลผลิต
ของการใช้หลักสูตรว่า จะเห็นไดจ้ากรายงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553:
7) ที่ระบุว่า คุณภาพ ผู้เรียนและสถานศึกษาในภาพรวม
ยังมีปัญหาอย่างมาก มีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนมากที่ยังไม่ได้มาตรฐาน
ตามเกณฑ์ประเมินของ สมศ. ในรอบแรกและพบว่าสัมฤทธิผลของผู้เรียนในวิชาหลักได้แก่
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์มีค่าเฉลี่ยต่ำ กว่าร้อยละ50
ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษายังไม่
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ขาดทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
และในการประเมินของ สมศ. รอบสอง พบว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 22,425แห่ง
มีถึงร้อยละ79.7
ที่ได้มาตรฐานและร้อยละ20.3
ที่ต้องได้รับการพัฒนา
2.จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10
(พ.ศ. 2550-2554) พบว่า
แผนนี้ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรม มีความรอบรู้อย่างเท่าทัน
มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์และ ศีลธรรม พร้อมสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและในสังคมไทยไปสู่สังคมฐานความรู้อย่างยั่งยืน
ดังนั้น
แนวทางการเตรียมเด็กและเยาวชนของชาติจึงมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นฐานของจิตใจที่ดีงาม
มีจิตสาธารณะ มีสมรรถนะ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จา เป็นในการดำรงชีวีติ
3. จากนโยบายการพัฒนาเยาวชนของชาติเขาสู่โลกยุค
ศตวรรษที่21
ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า มี จุดเน้นคือ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม
รักความเป็นไทย มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้าน
เทคโนโลยีสามารถทา งานร่วมกับผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ
จากข้อมูลดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มทบทวนหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ให้ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการการกำหนดวิสัยทัศน์จุดหมาย สมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน คุณลักษณะอัน พึงประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดอย่างชัดเจนเพื่อใช้เป็น
ทิศทางการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ที่มา https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-5-ne.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น