ผู้มีส่วนร่วมในการพพัฒนาหลักสูตร
สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
ในอดีตสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายตามหลักสูตรกลางที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้เท่านั้น
ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป
มีการกระจายอำนาจและมอบหมายให้สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
จึงมีผู้นำแนวความคิดนี้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
เพื่อให้บังเกิดผลในการปฏิบัติ ดังข้อความในวรรคสอง มาตรา 27 ที่ว่า
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
(สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ม.ป.ป.: 15)
จากข้อความตามวรรคนี้แสดงว่า
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จะต้องจัดทำสาระในรายละเอียดตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางและจัดทำหลักสูตรอื่นบางส่วนเพิ่มเติม
เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นบทบาทของสถานศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารและคณะครูจะต้องรับผิดชอบงานทางด้านการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรในทุกเนื้อหาสาระเพิ่มเติม
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นให้มากที่สุด
ประกอบกับสถานศึกษามีบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะกำหนด
รายละเอียดสาระของหลักสูตรเพิ่มเติมได้เอง
ในการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษานั้น
นอกจากเป็นบทบาทของบุคลากรของสถานศึกษาโดยตรงแล้ว
สถานศึกษาอาจเชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ
มาช่วยจัดทำหลักสูตรให้แก่สถานศึกษาได้ มาช (Marsh, 1997:
8) ได้กล่าวว่า ผู้ที่จะจัดทำหลักสูตรให้แก่โรงเรียนมาจากหลายแหล่ง จากบุคลากรในโรงเรียน
ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษา
กลุ่มบุคคลจากอุตสาหกรรมและชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจนถึงนักการเมือง
การที่บุคคลของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
โดยเฉพาะผู้บริหารและครูผู้สอน จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าถึงและเข้าใจความสำคัญ
ทิศทางของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
เพราะได้มีการอภิปราย การตรวจสอบ และการหาข้อยุติอย่างรอบคอบ
เป็นที่แน่ชัดว่าการจัดการเรียนการสอนของครูที่ดำเนินตามหลักสูตรที่ตนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมาเอง
จะทำให้การจัดการสอนสนองความต้องการของผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีผู้กำหนดมาให้เรียบร้อยแล้ว
นักวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
การกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญ
จึงบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับแนวคิดในการสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรเองไว้มากมาย
เช่น การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based curriculum development) การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นหลัก
(School-focused
curriculum development) พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะมอบอำนาจการตัดสินใจและการบริหารจัดการให้แก่ครูใหญ่หรือผู้บริหารโรงเรียน
โดยบัญญัติศัพท์เรียกแนวความคิดนี้ว่า
การบริหารจัดการที่ยึดแหล่งปฏิบัติการเป็นฐาน (Site-based Management) หรือการบริหารจัดการที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) เป็นต้น
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
- ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม
สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง
ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
-
เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร เช่น ครู
ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร
มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
- ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น
ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร
เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
- การบริหารจัดการ เช่น
ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร
ขาดการวางแผนด้านเวลา บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น
ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน
การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล
การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ
ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
- สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น
มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า
มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล
ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
- เน้นการบูรณาการ
แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา
การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
-
เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
-
ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง
เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
- เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
-
เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี
2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว
มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
บรรณานุกรม
กฤษฎาภรณ์ สิทธิปกร์.
การศึกษาสภาพปัญหาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2556. จาก
http://www.obec.go.th/node/36130
กระทรวงศึกษาเร่งปฏิรูปหลักสูตร
ไม่เน้นท่องจำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม
2556. จาก
http://news.voicetv.co.th/thailand/69397.html
มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ชุดบทเรียนที่
6 ปัญหาและแนวโน้ม. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม
2556. จาก
http://www.ice-thailand.com/t_kms/wp-content/pdf/tcu_06.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น