1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึงหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
หลักสูตรท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ
เป็นการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตของตนเอง
ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามสภาพจริงของตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้การพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 3 ) จึงอาจสรุปได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จัดตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่นนั้นๆ เป้าหมายหลัก คือ
ต้องการให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้น
หลักการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่น
มีหลักในการพัฒนาที่ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดปัญญา หรือเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 4)
1.
การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้สภาพปัญหา
วิธีการแก้ปัญหา และการปรับปรุงอย่างลึกซึ่ง คือ
ให้รู้และเข้าใจอย่างกระจ่างว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเองได้
2.
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติจริง
มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการปฏิบัติจริง
จนเกิดความชำนาญและสามารถปฏิบัติได้ในทุกสถานการณ์
3.
การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน
มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้ เพื่อเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมด้วยการมีความเชื่อ
และตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนต้องร่วมมือกัน
พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
4.
การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ
เป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีชีวิตที่งอกงาม ปรับปรุงบุคลิกภาพอย่างมั่นใจ
เน้นการมีเหตุผลและมีวิสัยทัศน์
ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผู้เรียน
ชุมชนและครูร่วมกันสร้างขึ้น
เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนจากชีวิต
เรียนแล้วเกิดการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข การเรียนการสอนจะสอนตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น หลักสูตรท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ ดังต่อไปนี้
( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 5 )
1.
เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของรู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง
2.
ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน
เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
3.
ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้
เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง
4.
ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน
มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน
ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น มีลักษณะดังต่อไปนี้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 5 )
1.
เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความหลากหลายของปัญหามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับเพศ วัย มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด
และทักษะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะและสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม
2.
เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ท้องถิ่นตนเอง
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริงและการทำงาน
รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3.
เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง และมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนของกระบวนการเรียนรู้
โดยผู้เรียนเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา
และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น
และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
4.
เป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
5.
เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมในด้านศีลธรรม
จริยธรรมและการธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย การรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในภูมิปัญญา
และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนและของประเทศชาติ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้
( กองพัฒนาการศึกษานอโรงเรียน. 2543 : 13 )
ขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาของชุมชน
ขั้นที่ 2
การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน
ขั้นที่ 3 เขียนผังหลักสูตร
ขั้นที่ 4 เขียนหลักสูตร
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ
การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร :
ปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model”
ตอบ สามเหลี่ยมแรก
เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum
Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง
เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบปฏิบัติ
หลักสูตรที่จัดทำขึ้น
จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือ
มีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ
มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา
การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือ
การออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม
เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum
Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก
ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร
สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์
คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง
การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ
กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการนิเทศการศึกษา
การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
สามเหลี่ยมรูปที่สี่
การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์คือ
ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน
ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
SU Model คือ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลองดังนี้
พื้นฐานแนวคิดและที่มาของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU model เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เพราะได้รับการพัฒนามาจากสามเหลี่ยมมุมบนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร
โดยสามเหลี่ยมมุมบนมาจากการที่ มล.ปิ่น มาลากุล
อธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้ให้แนวนโยบายการพัฒนานักศึกษา
มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา
ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
แนวคิดดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณาถึงเป้าหมายการศึกษา ที่มุ่งการเป็นคนดี คนเก่ง
และมีความสุข เมื่อนำมาปรับใช้กับเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตร จะได้ว่า
เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้ (knowledge)
ก็คือมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง
เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน (learner) ก็คือมุ่งให้เป็นคนดี
และเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม (society)
ก็มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข
ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในที่นี้จะประกอบไปด้วย
3 ด้าน นั่นคือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม
ซึ่งแต่ละด้านก็จะมีปรัชญาแต่ละชนิดกำกับ
มีการพัฒนาจากรูปสามเหลี่ยมที่นำไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น