บทที่ 7
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
มโนทัศน์(Concept)
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้นเป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจรคือ
เริ่มตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การร่างหลักสูตร
การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง
รวมทั้งการประเมินผลหลักสูตร
โดยหวังว่าขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรที่สมบรูณ์ที่จะทำให้ได้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ
ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1.
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ 2. การร่างหลักสูตร 3. การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร 4.
การนำหลักสูตรไปใช้ และ 5. การประเมินผลหลักสูตร
ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา
2. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง
สาระเนื้อหา(Content)
การจัดการศึกษาเท่าที่ผ่านมา
โรงเรียนส่วนใหญ่ที่ใช้ตำรา เอกสาร รวมทั้งสื่อต่างๆ
ที่จัดพิมพ์จากหน่วยงานกลางเป็นหลักในการเรียนการสอน
ถึงแม้ว่าสภาพบริบทและแวดล้อมโรงเรียนจะแตกต่างกัน
แต่เนื้อหาสาระในการจัดการเรียนการสอนกลับเหมือนกันทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตามได้มีความพยายามให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรดังที่กำหนดไว้ในคู่มือ
เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นได้
ทั้งนี้เนื่องจากครูขาดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะในการพัฒนาหลักสูตร
ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารและขาดการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น
การจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง
เน้นการท่องจำมากกว่าปฏิบัติจริง
ดังนั้นการเปลี่ยนบทบาทของโรงเรียนจากการเป็นผู้ใช้หลักสูตรที่มีผู้จัดทำให้มาเป็นการพัฒนาหลักสูตรด้วยตนเอง
จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้บุคลากรในโรงเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนหรือรู้แบบการพัฒนาหลักสูตรและมีความสามารถเพียงพอที่จะนำความรู้ไปใช้พัฒนาหลักสูตรด้วยตนเองได้
ทั้งนี้โดยหวังว่าหลักสูตรที่โรงเรียนพัฒนาขึ้น
จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องราวที่เป็นจริง
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
เล็งเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการนำไปใช้ ก่อให้เกิดความรัก
ผูกพันกับชุมชนที่อยู่อาศัย
นอกจากนั้นยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน
เนื่องจากหลักสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนก็คือ
การให้บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินทางหลักสูตร
ซึ่งมีทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล
เพื่อให้การศึกษาของเยาวชนเป็นไปตามความต้องการของครอบครัว ชุมชน
สังคมและประเทศชาติ สมดังเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาดังที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
1. ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ข้อกฎหมายที่สถานศึกษาต้องไปดำเนินการให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรได้เองภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางเป็นเรื่องที่จะต้องมี
การเตรียมการให้พร้อมเพื่อตอบสนองการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
และในมาตรา 23 กำหนดการจัดการศึกษา
ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องเน้นความสามารถทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องต่อไปนี้
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง
และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก
รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.
ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รวมทั้งความรู้และความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย
และการประยุกต์ใช้
ภูมิปัญญา
4.
ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
5.
ส่งเสริมการสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้ในการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน
และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย
เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จากข้อกำหนดจากมาตรา 22, 23, 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2524 นำไปสู่การกำหนดคุณภาพมาตรฐานของผู้จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งที่ผ่านมาในอดีต กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544: 4)
กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ดังนี้ คือ
1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง
ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2. ความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน
และรักการค้นคว้า
3. มีความรู้อันเป็นสากล
ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและเทคโนโลยี
ปรับวิธีการคิดวิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ทักษะการคิดและ การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต
5. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
6. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค
มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
7. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี
ยึดมั่นในวิถีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา
ภูมิปัญญาไทยทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม
2. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
สกิลเบ็ก (Skilbeck, 1984: 2) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนไว้ว่า หมายถึง การวางแผน
การออกแบบ การนำไปใช้และการประเมินผล
การกำหนดการเรียนรู้ของนักเรียนดำเนินการโดยสถานศึกษา
เน้นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ไม่ใช่กำหนดจากบุคคลภายนอก
แฮร์ริสัน (Marsh and others.1990: 48) ให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า 1. เป็นแผนงานที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ 2.
เป็นสิ่งที่นำไปปฏิบัติได้จริงและมีผลเกิดขึ้นกับบุคคลที่เกี่ยวข้องจริง 3. เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ทั้ง 3 ข้อมีความเกี่ยวข้องกัน
เพื่อให้หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
เอ็กเกิลสตัน (Eggleston, 1980: 7) ได้ให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า
เป็นการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน
โดยมีการวางแผนนำไปใช้ และประเมินร่วมกัน มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและชุมชน
เช่น บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
เป็นพันธกิจร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน ครูได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนได้รับประโยชน์
โรงเรียนเป็นผู้ทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผลมากกว่าเป็นเพียงเจ้าของหลักสูตร
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544:28-29) ได้กล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า
คือพันธกิจหรือภาระหน้าที่ที่สถานศึกษาและชุมชนร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
โดยกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ เป้าหมาย มาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้ครูทุกคนนำไปออกแบบการเรียนการสอนมีการวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษาเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา
สรุป การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในความหมายต่างๆ
ดังที่กล่าวมาข้างต้นสรุปว่า การพัฒนาหลักสูตรคือ
แผนประสบการณ์หรือแผนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกของโรงเรียน
เพื่อกำหนดการเรียนรู้ของนักเรียน มีการวางแผนนำไปใช้และประเมินผลร่วมกัน
3. แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นแนวคิดภายใต้พื้นฐานของการ บริหารงานที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management - SBM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ
ด้านการเงิน ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป
เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยมีความเชื่อว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดจากการตัดสินใจของคณะบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด
(Wohlsletter, 1995:22-25) แนวคิดนี้เริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีแบบของบริหารจัดการแตกต่างกันไปตามมลรัฐ และในระหว่าง พ.ศ. 2503-2522 วงการศึกษาของสหรัฐอเมริกาได้มีการปรับปรุงการดำเนินงานทางการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยนำความคิดจากความสำเร็จของการพัฒนาองค์การทางอุตสาหกรรมที่ทำองค์การให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพ
สร้างผลกำไรและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้น
แนวทางที่จะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น ต้องปรับปรุงและพัฒนาองค์การ
การบริหารโรงเรียนเสียใหม่ มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังโรงเรียนให้มากขึ้นมีการนำวิชาการบริหารงบประมาณด้วนตนเอง
(Self-Budgeting School)
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (School-Based Curriculum
Development) การพัฒนาบุคลากรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Student Counseling) เข้ามาใช้
(สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ,2543:12)
เซ็น (Chen, H.L.S., 2000:3) กล่าวว่า
โดยพื้นฐานแล้วความคิดในการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนก็คือ
โรงเรียนเป็นที่ที่ดีที่สุดในการออกแบบหลักสูตร
เพราะเป็นสถานที่ผู้เรียนและครูมีปฏิสัมพันธ์กัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำ
และมีผลโดยตรงต่อโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการศึกษา
เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการใช้หลักสูตรแกนกลางเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม
เพราะไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของโรงเรียนนโยบายที่จะให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตร เป็นการเปลี่ยนจากการสั่งการจากหน่วยงานกลางมายังหน่วยปฏิบัติ
(Top-Down)
มาเป็นการจัดทำจากหน่วยปฏิบัติขึ้นไป (Bottom-Up) ซึ่งเป็นความคิดเช่นเดียวกับการให้โรงเรียนบริหารการจัดการเอง (School-Based Management)
และเป็นความคิดที่นำมาจากประเทศทางตะวันตก ดังนั้น การนำมาใช้จะต้องนำมาปรับให้เหมาะสมด้วยหวังว่าทุกโรงเรียนจะเป็นแกนในการปฏิรูปการศึกษา
ครูทุกคนเป็นนักออกแบบหลักสูตร (Curriculum Designer)
และทุกห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ๆ
สำหรับประเทศไทยเอง แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาคือ
ต้องการกระจายอำนาจให้กับโรงเรียนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรได้เอง
เพราะเท่าที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นจากการรวมอำนาจการบริหารการศึกษาไว้ที่ส่วนกลางคือที่กระทรวงศึกษาธิการ
ดังที่คณะกรรมการปฏิบัติระบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการกล่าวไว้ว่า ลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้
1. ปัญหาการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางทำให้เกิดปัญหาคือ
1.1 ก่อให้เกิดความล่าช้าในการอนุมัติ
อนุญาต
1.2 ขาดความเป็นอิสระในการคิด
การตัดสินใจในระดับล่าง และระดับปฏิบัติของหน่วยงานในพื้นที่และสถานศึกษา
1.3 การบริหารและการตัดสินใจของหน่วยงานระดับล่างไม่อาจทำได้
ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา
และตอบสนองตามความต้องการของนักเรียนและประชาชน หรือชุมชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
1.4 ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากร
เนื่องจากการจัดสรรที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริง
การมอบอำนาจหรือแบ่งอำนาจ
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการบริหารงานตามระเบียบแบบแผนการบริหารการเงิน
และการบริหารงานบุคคล ส่วนการมอบอำนาจในเรื่องของนโยบายแผนงาน
และวิชาการมีเป็นส่วนน้อยคือเพียงร้อยละ 0.4ของลักษณะงานที่มอบอำนาจไปทั้งหมด
2. ปัญหาด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
ก็มีการกำหนดและควบคุมจากส่วนการสูงมาก
แม้มีความพยายามให้สถานศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาหลักสูตรในท้องถิ่น
ก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจาก
2.1 กรอบหลักสูตรและการประเมินผล
เป็นสาเหตุสำคัญในการสกัดกั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
2.2 ความวิตกกังวลของสถานศึกษาและครูผู้สอน
ที่เกรงว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ครบตามระเบียบและกฎเกณฑ์ดังกล่าว
2.3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
ไม่ส่งเสริมศักยภาพ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน
2.4 ระบบรวมศูนย์ในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
รวมทั้งการควบคุม จัดสรรและกำหนดคุณลักษณะจากส่วนกลางก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถานศึกษามิอาจจัดรายวิชาที่สนองความต้องการของนักเรียนและความต้องการชุมชนได้
3. ปัญหาจากการใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ
ก่อให้เกิดผลต่อผู้ปฏิบัติตามหลักสูตร
3.1 ผู้บริหารโรงเรียนบางส่วนขาดความรู้
ความเข้าใจในหลักสูตร
3.2 ครูไม้เข้าใจหลักการ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.3 เนื้อหาวิชามีความยาก
ไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น
3.4 ครูไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอน
จึงจัดการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง
3.5 การจัดส่งเอกสารประกอบหลักสูตรไปยังโรงเรียนมีความล่าช้า
ไม่ทันเปิดภาคการศึกษา จำนวนที่จัดส่งไปให้ไม่เพียงพอ
4. ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็คือ
4.1 การขาดบุคลากร
4.2 ขาดความร่วมมือและสนับสนุน
4.3 ขาดวิทยากร
4.4 ขาดความรู้
4.5 ขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
4.6 ครูไม่ปรับหลักสูตรสอนตามหลักสูตรแกนกลาง
4.7 ไม่ปรับปรุงสื่อ เอกสาร
4.8 ครูไม่มีความรู้และขาดทักษะในการดำเนินการ
จากรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษาพบว่าสถานศึกษาที่มีหลักสูตรและเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและผู้เรียน
มีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนคือ
1.
นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเองและชุมชนและตัวเองอาศัยอยู่น้อยหรืออาจไม่เกี่ยวข้อง
2. ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องไม่สนุก
เพราะประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีไม่มาก ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้
เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม
ที่เชื่อว่าการรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มเป็นผู้กระทำที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าผู้เรียนต้องเป็นผู้ลงมือกระทำ
การพัฒนาหลักสูตรระดับชาติ เป็นหน้าที่ของกรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องดำเนินการ
เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาประสบความสำเร็จมีดังนี้ (Cohen,
1985:1158)
1.
ต้องมีการมอบอำนาจส่วนกลางไปยังระดับโรงเรียนในท้องถิ่นในลักษณะการกระจายอำนาจ
2.
บุคลากรในโรงเรียนมีความยินดีในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาและบุคคลเหล่านั้นมีทักษะในการวินิจฉัยความจำเป็นของนักเรียน
3.
บุคลากรมีความสามารถเพียงพอในการรับผิดชอบงานและตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
เงื่อนไขดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารไปยังสถานศึกษา
ให้สถานศึกษามีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
ได้เองซึ่งแนวทางที่กำหนดไว้มีดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2543:3)
1. ยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใน (School-Based
Decision Making)
เป็นแนวคิดที่มุ่งให้โรงเรียนมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตัวเอง
โดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. การมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ (Participation and
Collaboration) การศึกษาเป็นเรื่องของสาธารณชน
มิใช่การรับผิดชอบของใครแต่ฝ่ายเดียวอีกต่อไป
3. การกระจายอำนาจ (Decentralization)
เป็นการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับผู้ใกล้ชิดเด็ก ได้แก่ โรงเรียน
ผู้บริหารการศึกษา ครูชุมชน เป็นความเชื่อว่าผู้มีส่วนได้เสียต่อการศึกษาหรือผู้ที่อยู่ใกล้เด็กสามารถจัดการศึกษาได้ดีที่สุด
ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
อำนาจการตัดสินใจควรอยู่ในระดับปฏิบัติคือสถานศึกษา
4. ภารกิจที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
ต้องมีการกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบและภารกิจของผู้บริหาร ครู อาจารย์
บุคลากรทางการศึกษาและชุมชนอย่างชัดเจน
และภารกิจเหล่านี้ต้องสามารถตรวจสอบความสำเร็จได้
เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
4. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่จะนำมาใช้ดำเนินการการนำแนวคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสองที่กำหนดให้สถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคม และประเทศชาติ รวมทั้งแนวคิดและรูปแบบของนักพัฒนาหลักสูตร เช่น ไทเลอร์ ทาบา
เซย์เลอร์อเล็กซานเดอร์และเลวิส โอลิวา สกิลเบ็กมาร์ช และคณะ เอ็กเกิลสตัน
วอล์คเกอร์ และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย องกรมวิชาการ และ
กรมการศึกษานอกโรงเรียน มากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น
เป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจรคือ เริ่มตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
การร่างหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง
รวมทั้งการประเมินผลหลักสูตร
โดยหวังว่าขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์ทำให้ได้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ
กล่าวโดยสรุปขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ ได้แก่
1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
2.3 การจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมและสื่อต่างๆ
2.4 การกำหนดวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ 5 การประเมินผลหลักสูตร
รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนมีดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
เพื่อใช้ในการกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรซึ่งได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เนื้อหาสาระ กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน/สื่อ
การวัดและประเมินผลผู้เรียนซึ่งข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระที่ควรจัดให้ผู้เรียน
ซึ่งอยู่ในลักษณะรายวิชา หลังจากนั้นจึงนำมากำหนดกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน
สื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลผู้เรียนว่าจะใช้วิธีการอย่างไร
ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรควรประกอบด้วย
1.1 การศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน
เนื่องจากโรงเรียนที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ
และวัฒนธรรมของชุมชน ช่วยเตรียมคนให้กับชุมชนและสังคม ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็นทำเป็นและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
เพื่อให้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความทันสมัยเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
การศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชนมีการศึกษาในหลายด้าน เช่น การศึกษา
สาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ ในปัจจุบันและแนวโน้มของอาชีพในอนาคต
สุขภาพอนามัย ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ทรัพยากรต่างๆ ปัญหาของชุมชน ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนอาจศึกษาจากการสำรวจสอบถามสัมภาษณ์บุคคลในชุมชน
และศึกษาจากเอกสาร รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองความต้องการของชุมชนในพื้นที่ได้
ข้อมูลของชุมชนที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลสภาพทั่วไปของชุมชน แผนที่ชุมชน
แสดงที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ เช่น สิ่งสำคัญในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน
เทศบาล ธนาคาร ฯลฯ
รวมทั้งลักษณะการตั้งบ้านเรือนภายในชุมชน ประวัติความเป็นมาและสภาพของชุมชน
จำนวนประชากร แยกตามเพศ อายุ จำนวนครัวเรือน ศาสนา สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
2. ข้อมูลด้านการศึกษา จำนวนผู้จบการศึกษาในระดับต่างๆ
จำนวนนักเรียนในระดับต่างๆ เช่น
ประถม มัธยม ฯลฯ จำนวนครูที่สอนในระดับต่างๆ จำนวนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา
เช่น ศึกษานิเทศก์ ฯลฯ
3. ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ภาษาท้องถิ่น
โบราณสถาน โบราณวัตถุภายในชุมชน ดนตรี เพลง การแสดงพื้นบ้านของชุมชน วรรณกรรม
ตำนานพื้นบ้านของชุมชน
4. ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาชีพ/รายได้ของคนในชุมชน
ปฏิทิน การปฏิบัติงานของชุมชน เช่น ช่วงเดือนการเก็บเกี่ยวข้าว
ช่วงเวลาการเก็บเงาะ การตัดยาง เป็นต้น รวมทั้งทรัพยากรที่มีในชุมชน เช่น
ป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งน้ำ และพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำเนียบชื่อ
ที่อยู่ ความรู้ความสามารถ
ความชำนาญของ
แต่ละบุคคลปัญหาชุมชน
6. ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน เช่น
ยาเสพติด พืชผลราคาตก โจรผู้ร้ายชุกชุม
นอกจาการศึกษาและสำรวจสภาพและความต้องการของชุมชน
รวมทั้งข้อมูลที่สำคัญของชุมชนแล้ว ต้องมีการสำรวจสภาพและความต้องการของผู้เรียน
ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถได้จากครูในโรงเรียน ผู้ปกครอง
และตัวนักเรียนเอง
วิธีการศึกษาชุมชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ศึกษาจากเอกสารต่างๆ จัดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary
Data)
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีผู้จัดพิมพ์หรือรวบรวมไว้อยู่ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ
เอกสารเหล่านี้สามารถค้นคว้าศึกษาได้จากห้องสมุดจากหน่วยงานต่างๆ
ที่รวบรวมจัดเก็บไว้
2. ศึกษาจากการสำรวจชุมชน จัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary
Data) ซึ่งผู้ต้องการใช้ข้อมูลเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากชุมชน
ทำให้ได้เห็นสภาพที่แท้จริง และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนด้วย
ซึ่งการสำรวจชุมชนต้องใช้วิธีการต่างๆ กัน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง วิธีการต่างๆได้แก่ การสัมภาษณ์
การสอบถาม และการสังเกตเป็นต้น
จากการศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน
นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาจัดลำดับความสำคัญ
โดยกำหนดเป็นหัวเรื่องที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ เช่น ในชุมชนมีปัญหายาเสพติด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ภาวะโลกร้อน มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เหล่านี้เป็นต้น
หรืออาจเป็นเรื่องที่ชุมชนต้องการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้กับนักเรียนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จัดแยกเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจนว่า
อะไรเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการแก้ไข หรืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนรู้เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชุมชนในการดำเนินงานขั้นตอนนี้มีความสำคัญที่ต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
เช่น ผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียน
คนในชุมชน รวมทั้งนักเรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกับครู
ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
หรือเรื่องราวที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้
1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนเป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียนในด้านต่างๆ
เช่น บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ
อาคารสถานที่ ห้องเรียน ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการพิจารณาว่าโรงเรียนมีความพร้อมหรือไม่
มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับศักยภาพของโรงเรียนมากที่สุด
ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้จากเอกสาร รายงานต่างๆ เช่น สถิติของโรงเรียน รายงานการประเมินคุณภาพของโรงเรียน
การสำรวจภายในโรงเรียน เป็นต้น
1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง เนื่องจากปัจจุบันเป็นระยะเวลาที่เราผ่านการใช้หลักสูตรมาหลายครั้งจนปัจจุบันกำลังจะนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มาใช้กับโรงเรียนนำร่องจำนวน 555 แห่ง ในปีการศึกษา 2552 และคาดว่าจะนำมาใช้ครบทุกชั้นในปีการศึกษา 2553
ดังนั้น การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางใช้แนวทางการวิเคราะห์ดังนี้
1. หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ให้พิจารณาจาก
1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
1.2 จุดประสงค์รายวิชา (ความมุ่งหวังที่ต้องการ)
1.3 เนื้อหาสาระ (โครงสร้างหลักสูตร)
1.4 กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
2.
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้พิจารณาจาก
2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
2.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น
- 8 กลุ่มสาระ
- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.3 การจัดการเรียนรู้
2.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งควรนำข้อมูลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ประกอบด้วยการศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนและการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร เป็นการกำหนดแผนการจัดประสบการณ์
หรือการกำหนด
แนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยจุดประสงค์ เนื้อหาสาระ
กิจกรรมและวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ
และทัศนคติตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในการร่างหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นที่ 1 คือ ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชน
ศักยภาพของโรงเรียน หลักสูตรแกนกลางที่กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้วิชาที่ต้องการพัฒนา
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ
2.1 การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. จุดประสงค์ทั่วไป
เป้าหมายหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้นๆ
แล้ว ต้องนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมในขั้นที่ 1 มากำหนดเป็นจุดประสงค์ทั่วไป ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การกำหนดจุดประสงค์ต้องเขียนด้วยภาษาที่ชัดเจน
เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงภายใต้ศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา
ตัวอย่าง
การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร “การทำผลไม้แปรรูป คือ
ให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำผลไม้แปรรูป”
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
- บอกความหมายของ “ผลไม้แปรรูป” ได้
- สามารถทำผลไม้แปรรูปได้
- มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพการทำผลไม้แปรรูป
- สามารถบรรจุหีบห่อที่สวยงามได้
- สามารถตั้งราคาขายที่เหมาะสมได้
ฯลฯ
2.2 การกำหนดเนื้อหาสาระ
เนื้อหาสาระเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร
ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาสาระเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางที่จะพาผู้เรียนไปยังวัตถุประสงค์ที่
วางไว้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใช้เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นบริบทของโรงเรียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้
มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัยหรือลำดับขั้นของการพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
รวมทั้งประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
มีประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื้อหาที่เลือกมาสามารถจัดให้ผู้เรียนได้โดยพิจารณาถึงความพร้อม
ศักยภาพของโรงเรียน บุคลากรที่เป็นผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ
ตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตร “การทำผลไม้แปรรูป” ประกอบด้วยเนื้อหาสาระดังนี้
- ลักษณะและชนิดของผลไม้ที่นำมาแปรรูป
- ขั้นตอนการทำผลไม้แปรรูป
- การทำความสะอาดเครื่องใช้
- การบรรจุหีบห่อ
- การตั้งราคาขาย
ฯลฯ
2.3 การจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน
คือ กิจกรรมที่ทั้งผู้เรียนเป็นผู้กระทำ
และกิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้กระทำ มีการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน การบรรยาย การสาธิต
ผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาสาระที่กำหนดขึ้น
ครูต้องคำนึงถึงพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
ซึ่งอาจมีการนำสื่อทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ และบุคคล
สถานที่ที่อยู่ในชุมชน เข้ามากำหนดเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้การเรียนรู้เชื่อมโยงกับชุมชน
ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนอันเนื่องมาจากการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้
กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่
กิจกรรมในลักษณะต่อไปนี้คือ ศึกษา ทดลอง สำรวจ ฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย สัมมนา ระดมความคิด ฯลฯ ตัวอย่างกิจกรรม
“ศึกษา” ได้แก่ (กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ , 2539: 9)
- ฟังคำอธิบายจากครู
- ค้นคว้าจากห้องสมุดของโรงเรียน
- ค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการอื่นๆ
- เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาบรรยาย
- ออกไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
- ออกไปสำรวจดูสภาพจริงในพื้นที่
- สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
- ออกไปทัศน์ศึกษา
- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
- นำหรือพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
ฯลฯ
นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ครูยังสามารถจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้โดยการจัดสื่อต่างๆ
เพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้ (กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ , 2539: 17-18)
1. หนังสือเรียน
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียน
มีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง อาจมีลักษณะเป็นเล่ม
เป็นแผ่นหรือเป็นชุดก็ได้
2. คู่มือครู แผนการสอนแนวการสอนหรือเอกสารอื่นๆ
ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
3. หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการศึกษาหาความรู้ของตนเอง
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
การเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น
หนังสือประเภทนี้โรงเรียนควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
3.1 หนังสืออ่านนอกเวลา
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน
โดยถือว่าเป็นกิจกรรรมการเรียนเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
3.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติม
เป็นหนังสือที่มีสาระ สำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล
หนังสือประเภทนี้เคยเรียกว่าหนังสืออ่านประกอบ
3.3 หนังสืออุเทศ
เป็นหนังสือใช้ค้นคว้าสำหรับอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียนโดยมีการเรียบเรียงเชิงวิชาการ
3.4 หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่าน
และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น อาจเป็นหนังสือสารคดี นวนิยาย นิทาน ฯลฯ ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม
ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้ มีคติและสารประโยชน์
4. แบบฝึกหัด เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะ และความแตกฉานในบทเรียน
5. สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น สื่อประสม วีดีทัศน์
แถบบันทึกเสียง ภาพพลิก แผ่นภาพ เป็นต้น
สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนสามารถเลือกใช้
ปรับปรุง หรือจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
2.4 การกำหนดวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
เนื่องจากการพัฒนาหลักสูตร จุดประสงค์ชัดเจนที่กำหนดความคาดหวังในคุณลักษะต่างๆ
ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
รวมทั้งวิธีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ การที่ผู้ใช้หลักสูตรหรือครูทราบว่าผลที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร
มีส่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข
ผู้เรียนได้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใดนั้น
ต้องมีวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล ซึ่งการวัดและประเมินต่อผู้สอนที่ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนรวมทั้งตัวผู้สอนเองช่วยให้ผู้สอนทราบคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
ซึ่งรวมถึงคุณภาพของหลักสูตร นำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ซึ่งการวัดและประเมินผลผู้เรียนมีทั้งก่อนการจัดการเรียนการสอน
ระหว่างและสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน แล้วแต่ความเหมาะสม
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เมื่อร่างหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว
ก่อนที่จะนำไปใช้กับนักเรียน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรก่อน
เพื่อหาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด
สิ่งที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน ซึ่งวิธีการตรวจสอบกระทำได้โดย
1. คณะทำงานร่างหลักสูตร เป็นกลุ่มบุคคลที่พัฒนาหลักสูตรขึ้นมา เช่น คณะครู
ผู้บริหารผู้ปกครอง คนในชุมชน เป็นผู้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
2. ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น
ด้านเนื้อหาสาระ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการสอน
เป็นผู้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
3. การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะของการจัดประชุม/สัมมนา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพื่อนำสู่การปรับปรุงหลักสูตร
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้ หลังจากที่มีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรละปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรที่ร่างขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว
ขั้นต่อไปคือ การนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก
ครูที่เป็นผู้ปฏิบัติการหลักในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้นำหลักสูตรไปใช้
ด้วยการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน
กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
การประสานงานกับบุคคลที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
จากภาพสรุปข้างต้นพบว่า การนำหลักสูตรไปใช้
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแรกคือ
จุดประสงค์ของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมากำหนดไว้ว่าอย่างไรหลังจากนั้นจึงพิจารณาจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนนำมาสู่การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมในแต่ละคาบและในการจัดกิจกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ซึ่งสื่อการเรียนรู้ได้แก่
เอกสาร/ตำรา แบบฝึกหัด โสตทัศนูปกรณ์ ต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
เช่น จากบุคคลได้แก่ ครู วิทยากรในและนอกชุมชน สถาบันทางสังคม ได้แก่ โรงเรียน กลุ่มโรงเรียน สมาคมต่างๆ ธนาคาร/มูลนิธิ ฯลฯ หรือเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ตามธรรมชาติ
ได้แก่ ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล
ภูเขา เหล่านั้นเป็นต้น
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ตามมาตรา 22
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลังว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
การนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ซึ่งในที่นี้ การเรียนรู้ หมายถึง การปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
(สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,2542 : 7) การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ,2542 : 9-15)
1. การเรียนรู้โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ
ให้มีความหมายต่อตนเองจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการใช้กระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง
ให้ผู้เรียนค้นพบข้อความรู้และประสบการณ์ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้
จัดโอกาส จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งวิทยาการ ให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ขอบเขตเนื้อหาของการเรียนรู้โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองคือ
การฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์
การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
(participatory learning : pl) กระบวนทางปัญญา 10ขั้น ของ ศ. นพ.ประเวศ วะสี ซึ่งได้แก่ การสังเกต การบันทึก การนำเสนอ
การฟัง การถาม-ตอบ การตั้งสมมติฐาน
การค้นหาคำตอบ การวิจัย การเชื่อมโยง
การบูรณาการ และการเรียบเรียง
2. การเรียนรู้เรื่องของตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเอง
การรับรู้และตระหนังในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม
ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มีความเพียรพยายามในการทำความดี
การเสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดีงามในตนเอง การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
การตระหนักถึงคุณค่า
และพัฒนาคุณภาพของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนขอบเขตเนื้อหา ได้แก่
การเรียนรู้เรื่องตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเรื่องศิลปวัฒนธรรมกลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง การฝึกปฏิบัติ (learning
by doing) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การฝึกทักษะกระบวนการคิด
3. การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต
หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญจำเป็นคือ
การรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความตระหนักรู้ในตน
มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร
รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา รู้จัดการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
ขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วยทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นข้างต้น
รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา การเลือกบริโภคสื่อ ยาเสพติดศึกษา
ทักษะการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเพศ การแก้ไขความขัดแย้งและความรุนแรงในครอบครัวและสังคม
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษาการประกอบอาชีพ
หมายถึง
การเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะกับตนเอง
รู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพสุจริตเหมาะสม สามารถพึ่งตนเองและเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพขอบเขตเนื้อหาประกอบด้วยทักษะเกี่ยวกับการสร้างนิสัยรักการทำงาน
มีความขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม 4 ประการ คือ ความอดทน ความซื่อสัตย์
รู้จักเสียสระและความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม รู้จักแก้ปัญหา
รวมทักษะในการจัดการ กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติจริง
การสาธิต การทดลอง
(Experimentation)
4. การเรียนรู้ที่มุ้งพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึง การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ
โดยอาศัยประสบการณ์และฝึกปฏิบัติจริง เพื่อสามารถเผชิญและผจญกับปัญหาและการจัดการกับภาวะต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมขอบเขตเนื้อหาของการเรียนรู้ที่พัฒนากระบวน
การคิด การแก้ปัญหาจากประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ
โดยการสังเกต การเปรียบเทียบ
การตั้งคำถาม แปลความหมาย ตีความ ขยายความ อ้างอิง คาดคะเน การสรุปความคิดสร้างสรรค์
และกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการใช้กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม (Group Process) กระบวนการทางปัญญาของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
5. การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้
คุณธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ้งให้ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาตนเองทางจิตใจ
บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยขอบเขตเนื้อหาคือ ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สังคมศาสตร์
ภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
ตลอดการเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาท วิธีปฏิบัติตนทางกาย
วาจาใจ ความมีสติสัมปชัญญะ
การมีคุณธรรมสำคัญ ความรักในเพื่อนมนุษย์
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการพัฒนาจิตใจ บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
กลยุทธ์ และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น
การบูรณาการการฝึกปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
6. การฝึกการเรียนรู้ที่มุ้งพัฒนาประชาธิปไตย
หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
การเคารพให้สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก ขอบเขตเนื้อหาคือ
ความรู้ความเข้าใจ ความศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความรักและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ความเป็นพลเมืองดี การรักษาประโยชน์ส่วนร่วม
กลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้ เช่น การฝึกปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมการฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์
การเรียนจากสถานการณ์จำลอง (Simulation)
7. การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
และความ ตระหนังในคุณค่าของความรู้ต่างๆ ที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดยภูมิปัญญาไทย ตลอดจนมีความรัก ชื่นชมและหวงแหนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืน ตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากขอบเขตเนื้อหา เกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาต่างๆ
ได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและหัตกรรม
การแพทย์แผนโบราณ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจชุมชน สวัสดิการ ศิลปกรรม การจัดการองค์กร ภาษาและวรรณกรรม ศาสนาและประเพณี
การศึกษา กีฬาและนันทนาการกลยุทธ์และเครื่องมือการเรียนรู้
เช่น การเรียนรู้จากครอบครัว
ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน การเรียนรู้โดยปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกระบวนการคิดวิเคราะห์
8. การวิจัยเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์
สังเคราะห์ สรุปผล เพื่อแก้ไขปัญหาและกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษากลยุทธ์และเครื่องมือการวิจัยในการศึกษา
เช่น ระบบบริหารของสถานศึกษาองค์ความรู้เรื่องการวิจัยของผู้บริหารและครูอาจารย์
การสร้างแรงจูงใจ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุน
การประเมินคุณภาพ
9. การเรียนรู้ด้วยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัวชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กลับผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนได้อย่างเต็มความศักยภาพ
ขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัวและชุมชนในการร่วมการจัดทำหลังสูตรการสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษา
การประเมินคุณภพทางการศึกษากลยุทธ์และเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากชุมชน
เช่น เทคนิคการบริหารอย่างมีส่วนร่วม
การกระจายอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกลับชุมชน
10. การประเมินผู้เรียน หมายถึง
กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ คุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่อย่างไรขอบเขตเนื้อหา
เกี่ยวข้องกับวิธีประเมินผล เครื่องมือในการประเมินผล
องค์ความรู้ในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการประเมินผลของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อกลยุทธ์และเครื่องมือในการประเมินผลผู้เรียน
เช่น การประเมินผลตามจริง แฟ้มสะสมงาน การสังเกต การสัมภาษณ์ การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน
ขั้นที่ 5 การประเมินผลหลักสูตร
เป็นการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ผลจากการรวบรวมข้อมูลในแง่มุมต่างๆ
เพื่อหาคำตอบว่าหลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
สิ่งใดที่ควรต้องทำการปรับปรุงเพื่อให้หลักสูตรดียิ่งขึ้น
การประเมินหลักสูตร ให้ครูประเมินจากสิ่งๆ
ต่อไปนี้
1. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ได้แก่
ความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมต่างๆ มีการประเมินเป็น 2 ระยะ คือ
1.1 ประเมินระหว่างการจัดการเรียนการสอน
เป็นการประเมินตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ที่กำหนดไว้ในแต่ละคาบของการจัดการเรียนการสอน
1.2 ประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร
2. ประเมินการจัดการเรียนการสอน
เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนในสถานการณ์จริงแล้วเป็นอย่างไร
มีปัญหา/อุปสรรคอย่างไร การจัดการเรียนการสอนให้คำนึงถึงการประเมินสิ่งต่างๆ
ต่อไปนี้
2.1 การประเมินเนื้อหาสาระที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ผู้เรียนสนใจในเนื้อหาสาระเรื่องราวที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่
อย่างไร
2.2 ประเมินสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนว่าเหมาะสม
ชัดเจน เข้าใจง่าย และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนเพียงใด
2.3 ประเมินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามลำดับจากง่ายไปยาก
ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
และมีทักษะตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร
จากความจำเป็นและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังที่ได้กล่าวมาสามารถสรุปได้
ตาราง 2 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นตอน
|
สิ่งที่ศึกษา
|
วิธีการศึกษา/แหล่งข้อมูล
|
เป้าหมาย
|
1. การศึกษาและ
วิเคราะห์ข้อมูล
พื้นฐาน
1.1
สภาพและ
ความต้องการ
ของชุมชน
1.2 ศักยภาพของ
โรงเรียน
1.3 การวิเคราะห์
หลักสูตร
แกนกลาง
|
- สภาพทั่วไปของชุมชน
- การศึกษา
- สิ่งแวดล้อม
- การประกอบอาชีพ
- สุขภาพอนามัย
- ขนบธรรมเนียมประเพณี
- ทรัพยากร
- ปัญหาชุมชน
- สภาพทั่วไปของโรงเรียน
- บุคลากร
- งบประมาณ
- อุปกรณ์
- สื่อการจัดการเรียนการสอน
- อาคารสถานที่
- ห้องเรียน
- ความร่วมมือระหว่าง
ชุมชนกับโรงเรียน
- จุดมุ่งหมาย
(มาตรฐานหลักสูตร)
- จุดประสงค์รายวิชา
(มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่ม วิชา)
- เนื้อหาสาระ (สาระการ
เรียนรู้แต่ละช่วงชั้น)
- การจัดการเรียนการสอน
และการประเมินผล
|
- เอกสาร
- การสำรวจชุมชนด้วย
การสัมภาษณ์สอบถาม
สังเกต
- โรงเรียนประชุมร่วมกับ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้
ปกครอง กรรมการ คน
ในชุมชน นักเรียน ฯลฯ
- เอกสาร
- รายงาน
- การสำรวจโรงเรียน
- ประชุมร่วมกับผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
- เอกสารหลักสูตรแกนกลาง
|
กำหนดหัวเรื่องที่จะนำมา
เรียนรู้ เรียงตามลำดับความ
สำคัญ
ตัดสินใจเกี่ยวกับ หัวเรื่อง
ที่จะนำมาเรียนรู้
- กำหนดจุดประสงค์ทั่วไป
- กำหนดจุดประสงค์การ
การเรียนรู้
(เชิงพฤติกรรม)
- กำหนดเนื้อหาสาระ
- กำหนดการจัดกิจกรรม
- กำหนดการวัดและ
ประเมินผล
|
2.
การร่าง
หลักสูตร
2.1
การกำหนดจุด
ประสงค์ของ
หลักสูตร
2.2
การกำหนดเนื้อหาสาระ
|
- หัวเรื่องที่จะนำมาเรียน
- จุดประสงค์การเรียนรู้ใน
หลักสูตรแกนกลาง
เนื้อหาสาระที่จะนำมากำหนด
การเรียนรู้
- สอดคล้องกับจุดประสงค์
- เกี่ยวข้องกับสภาพความ
|
-
ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ที่หลักสูตรแกนกลางในขั้นตอนที่ 1 มากำหนดเป็นจุดประสงค์ของการเรียนรู้
- ข้อมูลที่จะได้จาก
ขั้นตอนที่ 1
- ประชุมร่วมกับผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
|
- กำหนดจุดประสงค์ทั่วไป
- กำหนดจุดประสงค์
การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาสาระได้
สอดคล้องกับจุดประสงค์
และสภาพความต้องการ
ของชุมชน
|
2.3
การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
2.4 การกำหนดวิธี วัดและประเมินผล
ผู้เรียน
3.
การตรวจสอบ
คุณภาพของ
หลักสูตร
4.
การนำหลักสูตร
ไปใช้
|
ต้องการของชุมชน
- ทันสมัย น่าสนใจ
- ยากง่าย สอดคล้องกับวัย
ของผู้เรียน
- มีประโยชน์นำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน
- โรงเรียนมีศักยภาพในการ
จัดการเรียนการสอนได้
- กระบวนการจัดการเรียน
การสอน
- กิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำ
- กิจกรรมที่ผู้สอนกระทำ
- ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
- สื่อการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้
- วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ตามสภาพจริง
- คุณลักษณะต่างๆ ที่ต้อง การให้เกิดกับผู้เรียนในราย
วิชาที่พัฒนาขึ้น
- เครื่องที่ใช้ในการวัดและประเมินผลผู้เรียน
- วิธีการตรวจสอบคุณภาพ
ของหลักสูตร
- วิธีการแปลงหลักสูตรไปสู่
การจัดการเรียนการสอน
- การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้
เรียนเป็นสำคัญ
|
- เอกสาร ตำราจากห้อง
สมุดหน่วยงานต่างๆ
- ประการตรงของครูผู้สอน
- ประชุมร่วมกับผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
- เอกสาร ตำราจากห้อง
สมุดหน่วยงานต่างๆ
- ประการตรงของครูผู้สอน
- ประชุมร่วมกับผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
- ประชุมระดมความ
คิดเห็นจากคณะทำงาน
ร่างหลักสูตร
- ความคิดเห็นจาก
ผู้เชี่ยวชาญ
- ประชุมรับฟังความ
คิดเห็นจากผู้มีส่วน
เกี่ยวข้อง
- เอกสาร
ตำราจากห้อง
สมุดหน่วยงานต่างๆ
- ประสบการณ์ตรงของ
ผู้สอน
- ประสานกับชุมชนเพื่อ
|
แนวทางการจัดการเรียน
การสอนในรายวิชาที่
พัฒนาขึ้น
วิธีวัดและประเมินผลผู้
เรียนที่สอดคล้องกับ
จุดประสงค์ของหลักสูตร
ประสิทธิภาพของหลักสูตร
ก่อนนำไปใช้จริง
ประสิทธิภาพของหลักสูตร
ก่อนนำไปใช้จริง
|
5.
การประเมินผล
หลักสูตร
|
- ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในการ
จัดการเรียนการสอน
|
ใช้ สื่อ บุคลากร แหล่ง
เรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอน
- กระบวนการจัดการเรียน
การสอน
- ประเมินผลนักเรียนใน
ระหว่างการจัดการเรียน
การสอน
- ประเมินผลนักเรียนเมื่อสิ้นสุด
การจัดการเรียนการสอน
- ประเมินเนื้อหาสาระสื่อ
กิจกรรมการจัดการเรียน
การสอน
-ประเมินการมีส่วนร่วมของ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
|
- การตัดสินคุณค่าของหลัก
สูตรที่ใช้ในการจัดการ
เรียน การสอน
- การปรับปรุงหลักสูตรให้
ดียิ่งขึ้น
|
สรุป (Summary)
ข้อกฎหมายที่สถานศึกษาต้องไปดำเนินการให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรได้เองภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางเป็นเรื่องที่จะต้องมี
การเตรียมการให้พร้อม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27
ที่กำหนดให้
“คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย
ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
และในวรรคสองกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ” ซึ่งจะเห็นได้ว่าจุดหมายในส่วนของหลักสูตรแกนกลางที่จัดทำโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นไปอย่างกว้างๆ
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะได้นำไปจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษานั้นๆ ต่อไป
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
อาศัยแนวคิดภายใต้พื้นฐานของการบริหารงานที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management - SBM)
ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งให้สถานศึกษามีอิสระและมีความคล้องในตัวในการบริหารงานด้านวิชาการ
ด้านการเงิน
ด้านการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด
แนวทางที่จะทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นใช้กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังโรงเรียนให้มากขึ้นมีการนำวิธีการบริหารงบประมาณด้วยตนเอง
(Self-Budgeting School)
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (School-Based Curriculum
Development) และการพัฒนาบุคลากรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Student Counseling) เข้ามาใช้
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำมาใช้ดำเนินการในครั้งนี้
นำแนวความคิดและรูปแบบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสอง
ที่กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคม และประเทศชาติ รวมทั้งแนวคิดและรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตร เช่น ไทเลอร์ ทาบา
เซย์เลอร์อเล็กซานเดอร์และเลวิสโอลิวา สกิลเบ็กมาร์ช และคณะเอ็กเกิลสตัน
วอล์คเกอร์ และรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย เช่น กรมวิชาการ
และกรมการศึกษานอกโรงเรียน มากำหนดเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
1. หลักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญหรือจำเป็นอย่างไร
2. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยสรุปมีกี่ขั้นตอน
และสาระสำคัญในแต่ละขั้นตอน
เป็นอย่างไร
กิจกรรม(Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา :
กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา กรุงเทพฯ : บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด 2552
3. แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา
หรือผู้รู้ เกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่สนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น