กิจกรรม บทที่ 6


กิจกรรม(ACTIVITY)
1.                 สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ  จากการศึกษาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบต่างๆ เริ่มตั้งแต่ของโอลิวา , ไทเลอร์ , ทาบา เซเลอร์,อเล็กซานเดอร์และเลวีส และ SU MODEL ทำให้เราได้ทิศทางการพัฒนาหลักสูตร โดยพัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรได้ดังนี้
จากแผนภาพนี้ เป็นการแสดงแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีองค์ประกอบเริ่มจากการวิเคราะห์ผู้เรียน ซึ่งอยู่ภายใต้บริบทของสังคม การเมือง ศาสนา การศึกษา วัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไปของผู้เรียน ผู้พัฒนาหรือผู้จัดทำหลักสูตรนั้นๆภายใต้เงื่อนไขและบริบทเหล่านั้น เพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการเน้นในหลักสูตรคือ
K( Knowledge ) คือ ความรู้ที่มีความแตกต่างกันไปตามสาขาวิชาและระดับการศึกษาของผู้เรียน         
     A ( Attitude ) คือ ความมีทัศนคติหรือเจตคติต่อสิ่งที่เรียน
     S ( Skills ) คือ ทักษะต่างๆที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
                   ในขั้นต่อมาคือ การกำหนดเนื้อหารายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งจะต้องมีเนื้อหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิด KAS หรือพฤติกรรมที่คาดหวัง ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
จากขั้นที่ 2 เป็นการพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่หลักสูตรกำหนดผ่านกระบวนการ Learning ที่เป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่มีการวัดผล ประเมินผลควบคุมไว้ ซึ่งการวัดผล ประเมินผล ที่มีทั้งเป็น Formative Evaluation และ Summative Evaluation ซึ่งในขั้นสุดท้าย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนา KAS ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลักสูตร
2.                  ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ แนวคิดการสร้างความรู้และการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้ 
1.   ผู้เรียนสร้างความเข้าใจด้วยตนเองผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ โดยที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เข้าใจ ง่ายจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดียิ่ง
2.   ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้ เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะระบุว่าผู้สอนสอนอะไรหรือทำอะไร
3.   การวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้หมายถึงการกระทำใด ๆ ของผู้สอนที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
4.   วิธีการสอนและการประเมินการเรียนรู้จะเป็นการวางแนวทางในการออกแบบการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 
5.  การวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุระดับคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียน ให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง   คำถามในขั้นตอน การเลือกรับและการทำความเข้าใจสารสนเทศใหม่ ดังตัวอย่าง   ผู้เรียนจะกระทำอะไรหรือปฏิบัติอะไรที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์(วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมิน) กับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบทเรียนอย่างไร ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น