5. แบบจำลองสกิลเบค
แบบจำลองปฏิสัมพันธ์หรือแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่งที่กำหนดโดยสกิลเบคซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตรของประเทศออสเตรเลียเป็นนักการศึกษาที่เป็นที่รู้จักกันดีในปี
ค.ศ.1976
ได้แนะนำวิธีการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยโรงเรียนเป็นฐาน (School-Based
Curriculum Development: SBCD) สกิลเบคจัดเตรียมแบบจำลองที่ทำให้ครูสามารถพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมบนพื้นฐานของความเป็นจริง
แบบจำลองดังกล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณาว่าเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติซึ่งเป็นความตั้งใจอันแน่วแน่ของสกิลเบค
แบบจำลองปฏิสัมพันธ์หรือแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง
(เคลื่อนไหว) เป็นแบบจำลองที่ผู้พัฒนาอาจจะตั้งต้นด้วยองค์ประกอบใดๆ ของหลักสูตร
และดำเนินไปตามลำดับใดๆ ก็ได้มากกว่าที่จะตรึงติดอยู่กับขั้นตอน เช่น แบบจำลองเชิงเหตุผล
สกิลเบคสนับสนุนความคิดนี้และกล่าวว่า เป็นความสำคัญที่ผู้พัฒนาหลักสูตรต้องรับรู้แหล่งที่มาของจุดประสงค์เหล่านั้นและในการที่จะเข้าใจแหล่งที่มานี้มีการวิเคราะห์สถานการณ์
สกิลเบคให้เหตุผลว่าเพื่อให้ศูนย์พัฒนาหลักสูตรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ต้องอาศัยกระบวนการห้าขั้นในกระบวนการหลักสูตร แบบจำลองความประยุกต์ให้มีความเท่าเทียมกันในกระบวนการหลักสูตร
ระบบการสังเกต และประเมินผลหลักสูตร และการวิเคราะห์ทฤษฎีหลักสูตร
สกิลเบคไม่เห็นด้วยกับลำดับเหตุผลของแบบจำลองเหตุผลว่าเป็นเหตุผลโดยธรรมชาติแนะนำว่าผู้พัฒนาหลักสูตรอาจจะเริ่มต้น การวางแผนหลักสูตรในขั้นๆ ก่อนก็ได้ และจะดำเนินในลำดับใดๆ ก็ได้
บางครั้งแบบจำลองนี้ก่อให้เกิดความสับสนคือ ในความเป็นจริงแล้วดูเหมือนสนับสนุนวิธีการเชิงเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร อย่างไรก็ตาม
สกิลเบคกล่าวว่า
แบบจำลองไม่ได้แสดงนัยของการวิเคราะห์วิธีการและจุดหมายปลายทาง แต่แสดงนัยในการสนับสนุนทีมหรือกลุ่มผู้พัฒนาหลักสูตรให้พิจารณาข้อความจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่แตกต่างกัน เพื่อให้มองกระบวนการว่าเป็นสิ่งมีชีวิต และทำงานในลักษณะของวิธีการเชิงระบบ
เป็นการยากที่จะสรุปแบบจำลองนี้
วิธีที่ดีที่สุด
คือการแจกแจงเป็นตารางตามที่สกิลเบค
ได้สร้างไว้ คือ
มิติการกำหนดการพรรณนา
ยืนยันว่าแบบจำลองอาจจะได้รับการวิเคราะห์ในรูปขององศา
ซึ่งต้องการขั้นตอนตามลำดับเหตุการณ์แบบจำลองที่ค่อนไปการกำหนดมากต้องการนักพัฒนาหลักสูตรที่ติดตามกิจกรรมอย่างเดียว แบบจำลองที่มีข้อกำหนดต่ำ (มีการพรรณนาสูง)
จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าและเน้นว่าอะไรได้บังเกิดขึ้นมากกว่าอะไรควรจะเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาหลักสูตร
ส่วนมิติเหตุผล/การไม่หยุดนิ่ง
แย้งว่า แบบจำลองรูปแบบมีเหตุผลมีขั้นตอนและอยู่บนพื้นฐานของจุดประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรอาจจะมีเหตุผลน้อย
และมีปฏิสัมพันธ์มากในการสุ่มแบบไม่มีขั้นตอน ภาพประกอบ 22 ได้จัดเตรียมการพัฒนาหลักสูตรแบบง่ายๆ
ด้วยสารตาที่ต่างออกไปเพื่อการเลือกแบบจำลองที่เหมาะสม
ท่านชอบแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรแบบใดมากกว่า ก็สามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินทางมิติทั้งสองที่ได้พรรณนาแล้วข้างต้น
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกษาอื่นๆ
นอกจากแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวถึงแล้ว
ยังมีแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของนักการศึกษาและนักพัฒนาการอื่นๆ อีก
เช่น เซเลอร์ และ อเล็กซานเดอร์ (Saylor
and Alexander) และลีวีส (Saylor Alexander and Lewis) พริ้นท์ (Print) และโอลิวา
(Oliva)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น