บทที่
4
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรนั้นมีแนวคิดอยู่
2 ลักษณะด้วยกัน คือ
การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น ความหมายของคำว่า
“การพัฒนาหลักสูตร” จะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆ สำหรับผู้เรียนด้วย (Saylor
and Alexander 1974, P.7) ซึ่งระบบการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตร
ได้แก่ การร่างหรือพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้พัฒนารูปแบบหลักสูตรตามแนวคิดที่แตกต่างกัน
นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แบบจำลองของไทเลอร์
ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
(ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
ไทเลอร์มองว่า
นกการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม
ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต
ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม
ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4
ประเด็น คือ
1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน
เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ
หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา
ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้
ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย
ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว
ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3
ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้
และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบของทาบา (Hilden
Taba) มีลักษณะจากล่างขึ้นบน (grassroots
approach) โดยใช้วิธีอุปนัย ทาบาเสนอไว้ว่า
หลักสูตรควรมาจากครูผู้สอนมากกว่าผู้บริหารระดับสูง
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของทาบามีทั้งหมด 7
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1
วิเคราะห์สภาพปัญหา สำรวจความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ของสังคม
ศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของการเรียนรู้
ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ขั้นที่ 2
การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1
เป็นหลัก ควรเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง
และเป็นแนวทางในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 3
การเลือกเนื้อหาสาระ ต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เนื้อหาที่คัดเลือกบรรจุลงในหลักสูตรจะต้องมีความสำคัญและถูกต้อง
ขั้นที่ 4
การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
พิจารณาถึงความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใดก่อนหลัง
ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องและเป็นลำดับขั้นตอน
ขั้นที่ 5
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้
และวิธีการสอนแบบต่างๆ
จะต้องวางแผนเลือกประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
ขั้นที่ 6
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้เลือกแล้ว เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้
ขั้นที่ 7
การประเมินผล เป็นการพิจารณาว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
มีปัญหาหรือข้อบกพร่องในขั้นตอนใด เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor
and Alexander 1981, P. 30-39) ได้เสนอแนวคิดว่า
การพัฒนาหลักสูตรจะไม่ดำเนินไปในลักษณะเส้นตรง
การจะเริ่มที่ขั้นตอนหรือกระบวนการก็ได้ ดังนี้
ขั้นที่ 1
การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และขอบเขต โดยกำหนดขอบเขตของเป้าหมายไว้4
ประการ คือ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนาการของบุคคล ความสามารถทางสังคม
ทักษะการเรียนรู้ และความชำนาญเฉพาะด้าน
ขั้นที่ 2
การออกแบบหลักสูตร เป็นการตัดสินใจโดยใช้เป้าหมาย วัตถุประสงค์และขอบเขต
พร้อมทั้งพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น ธรรมชาติของวิชา ความสนใจของผู้เรียน
และสังคม เป็นต้น
ขั้นที่ 3
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำวิธีสอนต่างๆ
ที่ได้ออกแบบไว้ไปปฏิบัติวิธีการสอน รวมทั้งสื่อต่างๆ
ที่นำไปใช้ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
ขั้นที่ 4
การประเมินผลหลักสูตร ผู้สอนจะต้องเลือกใช้วิธีประเมินผลแบบต่างๆ
เพื่อบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน รวมทั้งประสิทธิภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา (Oliva)
1.จุดมุ่งหมายของการศึกษา (Aims
of Educatioj ) และหลักการปรัชญาและจิตวิทยาจากการวิเคราะห์ความต้องการจะเป็นของสังคมและของผู้เรียน
2.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นขอุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในชุมชน
และเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3. เป้าหมายของหลักสูตร (Curriculum
Goals) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่ 1
และ 2
4. จุดประสงค์ของหลักสูตร
(Curiiculum Objectives) อาศัยข้อมูลจากขั้นที่
1, 2 และ3
แตกต่างจากขั้นที่ 3
คือมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้หลักสูตร
และการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
5. รวบรวมและนำหลักสูตรไปใช้
(Organization and Implementation of the curriculum) เป็นขั้นของการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
6. กำหนดเป้าหมายของการสอน
(Instructional Goals) ของแต่ละระดับ
7. กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน
(Instructional Objectives) ในแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน
(Selection of Strategies) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสม
9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริง
คือ 9A (Preliminary selection of evaluation
techniques) และกำหนดวิธีการประเมินผลหละงจากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ้นสุด
คือ 9B (Find selection of evaluation
techniques)
10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง
(Implementation of Strategies) เป็นขั้นของการใช้วิธีการที่กำหนดในขั้นที่
8
11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
(Evaluation of Instruction) เป็นขั้นที่เมื่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น
ก็มีการประเมินผลตามที่ได้เลือกหรือกำหนดวิธีการประเมินในขั้นที่ 9
12. ประเมินหลักสูตร (Evaluation
of curriculum) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้วงจรครบถ้วน
การประเมินผลที่มิใช่ประเมินผู้เรียนและผู้สอน แต่เป็นการประเมินหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย
วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่
ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร
โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2552
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง
และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ
แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา
โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ
ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์
เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง
และแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมผู้สอน
ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5. ปฏิบัติการสอน
กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4
ประการ คือ
5.1
การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2
ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3
การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4
การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU
MODEL
จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย
เช่น โอลิวา (OLIVA) ไทเลอร์
(TYLER) เซเลอร์
อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (TABA) และวิชัย
วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว
จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU
MODEL ดังนี้
SU MODEL คือ
รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม
ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ 3
ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา
2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา
และ 3) พื้นฐานด้านสังคม
ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญาแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้
(KNOWLEDGE) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา
2 ปรัชญา คือ
ปรัชญาสารัตถนิยม (ESSENTIALISM) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (PERENIALISM) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล
เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (LEARNER)
กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม
(EXISTENTIALISM) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง
มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (SOCIAL)
จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
(RECONSTRUCTIONISM) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม
เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง
SU MODEL
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร
โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (CURRICULUM
PLANNING) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (KNOWLEDGE)และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ
มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน
เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา
แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก
21ST CENTURY SKILLS: THE CHALLENGES AHEAD; A WORLD
CLASS EDUCATION ทักษะแห่งอนาคตใหม่:
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (VISION)
ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (CURRICULUM
DESIGN) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (LEARNER)
และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์
คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา
ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (CONTENT)
ประสบการณ์การเรียนรู้
หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (LEARNING ACTIVITIES) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน
เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา
แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร
โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (OBJECTIVE
MODEL) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล
การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา
เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร 7
ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ
การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์
มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน
เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (MISSION)ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (CURRICULUM
ORGANIZATION) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (LEARNER),ความรู้
(KNOWLEDGE) และสังคม (SOCIETY)
ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์
คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน
เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนา
รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา
แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (CURRICULUM
EVALUATION) เป็นการประเมินหลักสูตร
และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (SOCIETY)
และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์
คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
เพราะว่าการประเมินผลการเรียน
ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
2. นำความรู้ที่รวบรวมได้
มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร
แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง
แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน
แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ THE SOLO TAXONOMY
มโนทัศน์(CONCEPT)
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของหลักสูตรคือ หลักสูตรความเป็นพลวัต
และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการและความเปลี่ยนแปลงของสังคม จากคุณสมบัติดังกล่าว
การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตลอดเวลาที่สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น
การจัดการศึกษาให้สนองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผลการเรียนรู้(LEARNING
OUTCOME)
1. มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้
ความเข้าใจ หลักการ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
สาระเนื้อหา(CONTENT)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรส่วนมากจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษาชาวต่างประเทศ
ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
แต่กระบวนการและขั้นตอนควรประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ซึ่งประกอบด้วยปรัชญาการศึกษา
ผู้เรียน สังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีและอื่นๆ
เพื่อนำมากำหนดจุดมุ่งหมายเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้จัดลงในหลักสูตร
แล้วนำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไขหลักสูตรที่สมบูรณ์และนำไปใช้
สุดท้ายทำการประเมินผลหลักสูตรและนำผลจากการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่อไป
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็น วัฏจักร
1. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นภารกิจที่สำคัญและกว้างขวาง
จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายกรณี
เช่น
กู๊ด (GOOD, 1973:
157-158) ได้ให้ความเห็นว่า
การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2
ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่ง
เพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์
วิธีการสอนรวมทั้งประมวลผล ส่วนคำว่า การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
เชย์เลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (SAYLOR
AND ALEXANDER, 1974: 7) ให้คำจำกัดความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า
หมายถึงการจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน
การพัฒนาหลักสูตรอาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นสำหรับนักเรียนด้วย
ทาบา (TABA,
1962 : 454) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสูตรเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านการวางจุดม่งหมาย
การจัดเนื้อหาวิชาการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลอื่นๆ
เพื่อให้บรรลุถึงจุดม่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งจุดมุ่งหมายและวิธีการ
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบทางด้านความคิดและความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวความคิดพื้นฐานหรือรูปแบบของหลักสูตร
สงัด อุทรานันท์ (2532:
30) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความหมายอยู่ 2
ลักษณะ คือ 1.
การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น
และ 2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐาน
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525: 10) กล่าวว่า
การพัฒนาหลักสูตรคือการพยายามวางโครงการ
ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู
และสื่อการเรียนต่างๆ การวัดและการประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข
และการให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
รวมทั้งการบริการและการบริหารหลักสูตร
ในการพัฒนาหลักสูตร
เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (SAYLOR AND ALEXANDER,
1974: 8-9) ชี้ให้เห็นว่า
การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีงานที่ต้องทำสำคัญๆ อยู่ 3
ประการ คือ
1. การพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายเบื้องต้นที่สำคัญของหลักสูตรที่จัดทำนั้นว่ามีเป้าหมายเพื่ออะไร ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ
อย่างเด่นชัด
2. การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
การเลือกสรรเนื้อหาเพื่อสาระเพื่อการอ่าน การเขียน การทำแบบฝึกหัด
และหัวข้อสำหรับการอภิปรายตลอดจนกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น
3. การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์และการจัดการเรียนการสอน
ตลอดทั้งการทดลองที่เป็นประโยชน์
เหมาะสมกับการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
บางครั้งเราจะพบว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกหาทางเลือกทางการเรียนการสอนที่เหมาะสม
หรือเป็นที่รวบรวมของทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ
เข้าด้วยกัน จนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้
และถ้าหากหลักสูตรมุ่งที่จะกำหนดสำหรับผู้เรียนหลายกลุ่มหลายประเภทโดยใช้วิธีการต่างๆ และโอกาสต่างๆ กันแล้วนักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงภูมิหลักขององค์ประกอบต่างๆ
อย่างละเอียดและรอบคอบก่อนจะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง
และเมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ
เป็น วัฏจักร
2.
หลักการพัฒนาหลักสูตร
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาในเรื่องของความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนๆ
อย่างเป็นระบบระเบียบและเพื่อให้งานการพัฒนาหลักสูตรดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาอย่างแท้จริงเราจึงต้องคำนึงถึงหลักในการพัฒนาหลักสูตร
1. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีผู้นำที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถในงานพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างดี
2. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกระดับ
3. การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีการดำเนินการเป็นระบบระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป
เริ่มตั้งแต่การวางจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจนถึงการประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรในการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงว่า การพัฒนาหลักสูตรที่จุดใด
จะเป็นการพัฒนาส่วนย่อยหรือการพัฒนาทั้งระบบ และจุดดำเนินการอย่างไรในขั้นต่อไป
สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร
ครูผู้สอน หรือนักวิชาการทางด้านการศึกษาและบุคคลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันพิจารณาอย่างรอบคอบ
และดำเนินการอย่างมีระเบียบระบบแบบแผนทีละขั้นตอน
4. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องรวมถึงผลงานต่างๆ
ทางด้านหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหลักสูตร เนื้อหาวิชา การทำการทดสอบหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้
หรือการจัดการเรียนการสอน
5. การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการฝึกฝนอบรมครูประจำการให้มีความเข้าใจในหลักสูตรใหม่
ความคิดใหม่ แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่
6. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจ
และทัศนคติของผู้เรียนด้วย
3.
ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีกระบวนการและขั้นตอนที่ซับซ้อน
และเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร นักวิชาการ
นักพัฒนาหลักสูตร ให้มาทำงานร่วมกันกับบุคคลหลายฝ่าย
และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายด้วยดี การพัฒนาหลักสูตรจึงจะประสบความสำเร็จเมื่อการพัฒนาหลักสูตรสำเร็จลุล่วงตามจุดหมายแห่งการพัฒนาแล้วย่อมก่อให้เกิดประโยชน์
ดังนี้
1. เป็นการพัฒนาการศึกษาของชาติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้
เพื่อให้การศึกษาของชาติเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับความเจริญของสังคมและของโลก
2. เป็นการพัฒนาระบบการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก
โดยเฉพาะในยุคที่เรียกว่า โลกยุคโลกาภิวัตน์
3. เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจและความสามรถในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนดังต่อไปนี้
3.1
มีความสามารถเปลี่ยนกับทักษะในด้านต่างๆ
3.2
มีความรู้เพียงพอที่จะศึกษาในระดับสูงขึ้นไป
3.3
ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
3.4
มีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
3.5
มีความเข้าใจและรักษาความงามตามธรรมชาติ
3.6
มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีงาม
3.7
มีความสนใจและเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
3.8
มีความสนใจในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.9
มีความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตและในสังคมได้
4.
กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
ถ้าหลักสูตรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดขึ้นในการวางแผนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาแล้ว
การพัฒนาหลักสูตรก็จะเป็นการพัฒนาแผนเพื่อจัดโปรแกรมการศึกษา
ซึ่งหมายถึงการให้นิยามและการเลือกจุดประสงค์ของการศึกษา
เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินโปรแกรมการศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานปฏิบัติมิใช่งานทฤษฎี เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบบ
เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
และระบบนี้จะต้องเป็นประโยชน์ที่แท้จริงปรากฏต่อสังคมและต่อมนุษย์
ซึ่งมีความมุ่งหมาย มีความฝักใฝ่ในสิ่งที่ตนชอบ มีกลไกการเคลื่อนไหว ดังนั้น
ขั้นตอนที่จำเป็นขั้นแรกในการพัฒนาหลักสูตร คือ
การตรวจและวิเคราะห์สถานการณ์สำคัญๆ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายปลายทางของการพัฒนาหลักสูตรคือ
การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและครู ครูที่กลายเป็นผู้ที่มีความรู้มากขึ้น
มีทักษะมากขึ้น และมีความไม่หยุดนิ่งมากขึ้น
ครูซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะเป็นผู้ที่ให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดต่อไปนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร และแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร
แดเนียล แทนเนอร์ และลอร์เรล
แทนเนอร์ (D. TANNER & L. TANNER. 1995 : 385) กล่าวว่าปัจจัยและอิทธิพลหลักสูตรมีปฏิสัมพันธ์จากปรัชญาสังคม
พฤติกรรมมนุษย์ และความรู้ที่ยิ่งใหญ่กว้างขวางสิ่งเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อผู้เรียนโดยแปรสภาพมาเป็นเนื้อหาวิชาสำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการพัฒนาคนในสังคมใหม่
ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทัศน์ด้วยหลักสูตร
มาร์ช และวิลลิส (MARSH
& WILLIS. 1995 : 278) ได้สรุปแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
ว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแม้มีหลายแนวคิด
แต่เมื่อสรุปรวมความคิดแล้วล้วนอยู่บนพื้นฐานความต่อเนื่องเป็นอนุกรมโดยเริ่มจากแรงกดดันและผลกระทบจากปัจจัยบริบทและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสู่การปรับปรุงหลักสูตร
การนำหลักสูตรไปสู่สถาบันเพื่อใช้จะได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างๆ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรขึ้นมาอีกในระยะต่อไปต่อเนื่องดังภาพประกอบ
2
ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
เพื่อดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรมีแรงผลักดันและปัจจัยอิทธิพลหลายระดับตั้งแต่ระดับโรงเรียน
ระดับชุมชนครอบครัว
สังคมประเทศชาติจนถึงระดับนานาชาติ
พลังผลักดันของสังคมเป็นตัวเร่งสำคัญในการวางแผนหลักสูตร (PARKAY
W.AND GLEN HASS, 2000 : 275)
องค์ประกอบในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหลักสูตรศึกษาวิเคราะห์สภาพของสังคมในปัจจุบัน
พร้อมทั้งวิเคราะห์หลักสูตรเดิมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลพื้นฐานต่างๆ
ในการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงแก้ไข
แล้วกำหนดจุดประสงค์ใหม่
องค์ประกอบในแต่ล่ะส่วนจะมีความสัมพันธ์กันและเท่าเทียมกัน
จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้
ได้แก่
1. การกำหนดความมุ่งหมายจะต้องชัดเจนว่าต้องให้ผู้เรียนในระดับนั้นๆ
มีคุณสมบัติอย่างไร
เมื่อกำหนดความมุ่งหมายแล้วจะได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อไป
2. การวางแผนกำหนดโครงสร้างของหลักสูตร และการเลือกเนื้อหาวิชา
ในหลักสูตรจะต้องกำหนดโครงสร้างอะไรบ้าง
เช่น
จะต้องใช้เวลาศึกษานานเท่าไร
จะต้องเรียนทั้งหมดกี่หน่วยการเรียนจึงจะจบหลักสูตรได้
จะต้องเข้าเรียนกี่คาบต่อสัปดาห์ต่อภาคเรียนมีการวัดและประเมินผลอย่างไร ระบบการให้คะแนนเป็นอย่างไร มีวิชาใดบ้างที่จะต้องเรียนบังคับเท่าไร และเลือกเท่าไร
และวิชาเหล่านั้นประกอบไปด้วยเนื้อหาอะไรมีประสบการณ์อะไรบ้าง
3. การทดลองใช้หลักสูตรหรือกระบวนการเรียนการสอนหรือวิธีการ
และการจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องจัดหาและปรับปรุงกระบวนการสอน การจัดชั้นเรียน
การใช้อุปกรณ์การวัดผลและประเมินผล
และการจัดกิจกรรมเสริมทางวิชาการ
ตลอดจนการสอนซ่อมเสริมให้การนำหลักสูตรไปใช้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. การประเมินผลหลักสูตร
เป็นการประเมินคุณค่าของหลักสูตรว่ามีคุณภาพเป็นอย่างไร
เป็นกระบวนการที่ใช้พิจารณาว่าความมุ่งหมายเป็นอย่างไร
เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ตรงกับความ
มุ่งหมายหรือไม่
การเรียนการสอนมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้างและการประเมินผลอย่างไร
ดังภาพประกอบ 3
5. รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เนื่องจากรูปแบบหลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียว
(BLUE PRINT) ที่ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลักสูตร
นักวิชาการจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญมีดังนี้
5.1
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจากแนวคิดต่างประเทศ
5.1.1
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์ (RALPH
W. TYLER)
ไทเลอร์ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการสอนซึ่งก็คือหลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร(TYLER
RATIONALE) ว่าในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
ต้องตอบคำถามพื้นฐานที่สำคัญ 4
ประการ คือ (TYLER, 1949: 3)
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษา
(EDUCATIONAL PURPOSES) อะไรบ้างที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ประสบการณ์ทางการศึกษา
(EDUCATIONAL EXPERIENCES) อะไรบ้างที่โรงเรียนจะต้องจัดให้
เพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะทำให้สอนมีประสิทธิภาพ
4. ประเมินประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนอย่างไรจึงจะทราบได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
ไทเลอร์ได้วางรูปแบบโครงสร้างของหลักสูตรโดยใช้วิธีการและเป้าหมายปลายทาง (MEANS
AND ENDS APPROSCH) ดังนี้ (วิชัย วงษ์ใหญ่,
2537: 10-11)
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายนั้น
ในขั้นแรกต้องกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายชั่วคราวก่อน โดยต้องนำบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น
บริบททางด้านสังคม
ด้วยการนำสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไร และมีการศึกษาตัวผู้เรียน เช่น ความต้องการ
ความสนใจ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นต้น
นอกจากนั้นยังต้องศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ (วิชัย วงษ์ใหญ่,
2537 : 12) ความเชื่อค่านิยมของสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน เพราะการศึกษาสังคมค่านิยมขนบประเพณี
วัฒนธรรมจะให้คำตอบว่าสังคมต้องการจัดการศึกษาเพื่ออะไร
และจะจัดการศึกษาสำหรับใคร
สิ่งเหล่านี้ช่วยให้แสวงหาคำตอบที่ชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางของการศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรและการเสนอของไทเลอร์
มีลักษณะสำคัญคือ (วิชัย วงษ์ใหญ่,
2537 : 12-14)
1. จุดมุ่งหมายเป็นตัวกำหนดควบคุมการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนดังนั้น
การกำหนดจุดมุ่งหมายจึงมี 2ขั้นตอน
คือ
ตอนแรกเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราวแล้วจึงหาวิธีการและเกณฑ์จากทฤษฎีการเรียนรู้ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาสังคมมากลั่นกรองจุดมุ่งหมายชั่วคราว
เพื่อให้ได้มาเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของหลักสูตร
พื้นฐานทางจิตวิทยาและปรัชญาในการพัฒนาหลักสูตรจะเข้ามามีบทบาทและช่วยในการตรวจสอบเพื่อหาความชัดเจนของการกำหนดจุดมุ่งหมายขั้นนี้เพื่อตอบคำถามและหาความชัดเจนว่าการจัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองใคร
ตอบสนองผู้เรียนหรือสังคม
2. การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร
ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
2.1
ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและการเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
2.2
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นทำให้ผู้เรียนพอใจปฏิบัติการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
2.3
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นอยู่ในข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4
กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
2.5
กิจกรรมและประสบการณ์เรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตรวจสอบจุดมุ่งหมายหลายๆ ข้อได้
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา และเนื้อหาต่อเนื้อหา เรียกว่าความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง (VERTICAL)
กับแนวนอน
(HORIZONTAL) ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดดังนี้
3.1
ความต่อเนื่อง (CONTINUITY) หมายถึงความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไป
เช่น ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ
และต่อเนื่องกัน
3.2
การจัดช่วงลำดับ(SEQUENCE) หมายถึงความสัมพันธ์แนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือจากสิ่งที่มีความง่ายไปสู่ที่มีความยาก ดังนั้น
การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.3
บูรณาการ (INTEGRATION) หมายถึง
ความสัมพันธ์กันในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตร
จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชา
หรือจากรายวิชาหนึ่งไปยังรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่ได้ประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ
กัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (INTERACTION)
ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
4. การประเมินผลเพื่อตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สมควรมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
4.1
กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
4.2
วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
4.3
ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
4.4
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
1. ความเป็นปรนัย
(OBJECTIVITY)
2. ความเชื่อมั่นได้
(RELIABILITY)
3. ความเที่ยงตรง
(VALIDITY)
4. ความถูกต้อง
(ACCURACY)
4.5
การพิจารณาผลประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การอธิบายถึงส่วนดีของหลักสูตรหรือสิ่งที่ต้องปรับแก้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
5.1.2
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวความคิดของทาบา (TABA)
แนวคิดของทาบาในการพัฒนาหลักสูตรใช้วีแบบรากหญ้า (GRASS-ROOTS
APPROACH) มีความเชื่อว่าหลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่ในระดับสูงขึ้น
ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ (TABA, 1962 :456-459)
1. วิเคราะห์ความต้องการ
(DIAGNOSIS OF NEEDS) ใช้วิธีสำรวจสภาพปัญหา
ความต้องการ และความจำเป็นของผู้เรียนและของสังคม
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย
(FORMULATION OF OBJECTIVES) ด้วยข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์ความต้องการ
3. คัดเลือกเนื้อหาสาระ
(SELECTION OF CONTENT) เมื่อกำหนดจุดมุ่งหมายแล้วก็ต้องเลือกเนื้อหาสาระ
ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย และต้องคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนด้วย
4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
(ORGANIZATION OF CONTENT) เนื้อหาสาระที่รวบรวมต้องคำนึงถึงความยากง่ายและความต่อเนื่อง
รวมทั้งจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของผู้เรียน
5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
(SELECTION OF LEARNING EXPERIENCES) การคัดเลือกประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา
6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้
(ORGANIZATION OF LEANING EXPERIENCES) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต่อเนื่องของเนื้อหาสาระ
7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล (DETERMINATION
OF WHAT TO EVALUATE AND THE WAYS AND MEANS OF DOING IT) มีการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าประสบการณ์การเรียนที่จัดให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
และกำหนดวิธีการประเมินรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินด้วย
จากการพัฒนาหลักสูตรแนวคิดของทาบาจะเริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งก่อนก็ได้ แต่เมื่อเริ่มที่
จุดใดแล้วจะต้องทำการศึกษาให้ครบกระบวนการทั้ง 7
ขั้นตอน จุดเด่นในแนวคิดของทาบาคือเรื่องยุทธวิธีการสอน (TEACHING
STRATEGIES) และประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึง
มีอยู่ 2 ประการ
คือ (วิชัย วงษ์ใหญ่,
2537 : 15-16)
1. ยุทธวิธีการสอนและประสบการณ์เรียนรู้
เป็นเครื่องกำหนดสถานการณ์เงื่อนไขการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นผลผลิต ดังนั้น
การจัดรูปแบบของการเรียนการสอนต้องแสดงลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วย
2. ยุทธวิธีการสอนเป็นสิ่งที่หลอมรวมหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาไว้ด้วยกันการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับยุทธวิธีการสอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
คือ
2.1
การจัดเนื้อหา
ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ารายวิชานั้นๆ มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบใด กว้างหรือลึกมากน้อยเพียงใด
และได้เรียงลำดับเนื้อหาวิชาไว้อย่างไร
การกำหนดโครงสร้างได้กระทำชัดเจนสอดคล้องกับโครงการในระดับใด
เพราะแต่ละระดับมีจุดประสงค์เนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
2.2
หน่วยการเรียน
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่บ่งชี้ถึงการวัดและประเมินได้ชัดเจน
มีรายละเอียดและมีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนและทำกิจกรรมตามความต้องการและความสนใจ
การตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในการพัฒนากระบวนการเรียนได้เป็นลำดับขั้นตอนเพื่อนำไปสู่ข้อค้นพบ
ข้อสรุปที่เป็นหลักการที่มุ่งเน้นความคาดหวังเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
และการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5.1.3
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของเซย์เลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (J. GALEN
SAYLOR, WILLIAM M.ALEXANDER AND ARTHUR J. LEWIS)
แนวคิดของเซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์ และเลวิส ประกอบด้วย กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ 4
ขั้นตอน คือ (SAYLOR AND ALEXANDER,1974 : 265;
SAYLOR,ALEXANDER AND LEWIS, 1981: 181)
1. เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และความครอบคลุม (GOALS,
OBJECTIVE AND DOMAINS) หลักสูตรต้องประกอบด้วย เป้าหมาย
วัตถุประสงค์ และในแต่ละเป้าหมายควรบ่งบอกถึงความครอบคลุมของหลักสูตร (CURRICULUM
DOMAIN) วัตถุประสงค์ พัฒนาการส่วนบุคคล
มนุษยสัมพันธ์ ทักษะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และความชำนาญเฉพาะด้าน
ซึ่งกำหนดจากความเป็นโลกาภิวัฒน์ ความต้องการของสังคมที่อยู่อาศัยกฎหมาย ข้อบังคับ
เป็นต้น
2. การออกแบหลักสูตร
(CURRICULUM DESIGN) คือการวางแผนเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกและจัดเนื้อหาสาระและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงปรัชญา ความต้องการของสังคมและผู้เรียนมาพิจารณาด้วย
3. การนำหลักสูตรไปใช้
(CURRICULUM IMPLEMENTATION) ครูต้องเป็นผู้วางแผนและวางแผนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ
(INSTRUCTIONAL PLANS) รวมทั้งการจัดทำสื่อการเรียนการสอน
เช่น ตำรา แบบเรียน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ครูตั้งเป้าหมายไว้
4. การประเมินผลหลักสูตร
(CURRICULUM EVALUATION) ครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันตัดสินใจเพื่อเลือกวิธีการประเมินผลที่สามารถประเมินได้ว่า
หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นได้ผลตามความมุ่งหมายการประเมินหลักสูตรจะเป็นข้อมูลสำคัญที่บอกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ว่าควรจะปรับปรุงหลักสูตรในจุดใด
เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการใช้หลักสูตรในอนาคต
5.1.4
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของโอลิวา (OLIVA)
(OLIVA.1982 : 172)
1. จุดมุ่งหมายของการศึกษา
(AIMS OF EDUCATION) และหลักการปรัชญาและจิตวิทยาจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสังคมและผู้เรียน
2. วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของชุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ
ตั้งอยู่ ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในชุมชน
และเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3. เป้าหมายของหลักสูตร
(CURRICULUM GOALS) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้น
1 และ 2
4. จุดประสงค์ของหลักสูตร
(CURRICULUM OBJECTIVES) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่
1, 2 และ 3
แตกต่างจากขั้นที่ 3คือมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้หลักสูตร
และการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
5. รวบรวมและนำไปใช้
(ORGANIZATION AND IMPLEMENTATION OF THE CURRICULUM) เป็นขั้นของการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
6. กำหนดเป้าหมายของการสอน
(INSTRUCTIONAL GOALS) ของแต่ละระดับ
7. กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน
(INSTRUCTIONAL OBJECTIVE) ใน แต่ละวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน
(SELECTION OF STRATEGIES) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสมกับผู้เรียน
9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริงคือ
9A (PRELIMINARY SELECTIVE OF EVALUATION TECHNIQUES)
และกำหนดวิธีประเมินผลหลังจากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ้นสุดคือ
9B (FIND SELECTION OF EVALUATION TECHNIQUES)
10. นำยุทธวิธีไปใช้ปฏิบัติจริง(IMPLEMENTATION
OF STRATEGIES) เป็นขั้นของการใช้วิธีการที่กำหนดในขั้นที่
8
11. ประเมินผลจากการเรียนการสอน
(EVALUATION OF INSTRUCTION) เป็นขั้นที่เมื่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น
ก็มีการประเมินผลตามที่ได้เลือกหรือกำหนดวิธีการประเมิน ขั้นที่ 9
12. ประเมินหลักสูตร
(EVALUATION OF CURRICULUM) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้วงจรครบถ้วน
การประเมินผลที่มิใช่ประเมินผู้เรียนและผู้สอน
แต่เป็นการประเมินหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
5.1.5
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของมัลคอล์ม สกิลเบ็ก
สกิลเบ็ก (SKLIBECK,1984
: 230-239; สิทธิชัย เทวธีระรัตน์,
2543 : 43) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบของหลักสูตรในลักษณะที่เป็นพลวัต
จุดเด่นคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตร
ทั้งนี้ สกิลเบ็กเชื่อว่า
สถานการณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดความแตกต่างของหลักสูตร
เพราะไม่สามารถคาดเหตุการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้าได้
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ไว้ก่อนมีการสำรวจสถานการณ์จริงจึงขาดความน่าเชื่อถือ
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรโดยโรงเรียนเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรเอง (SCHOOL-BASED
CURRICULUM DEVELOPMENT หรือ SBCD)
เป็นวิธีที่สามารถนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้
การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ
ที่เป็นปรากฏการณ์ของสังคมแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน
ทำให้ไม่สามารถเจาะจงใช้รูปแบบหลักสูตรที่เป็นแบบเดียวกันได้ ดังนั้น
รูปแบบหลักสูตรจึงเป็นพลวัต แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของสกิลเบ็ก ประกอบด้วย 5
ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1
การวิเคราะห์สถานการณ์ (ANALYZE THE SITUATION)
วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหลักสูตร
ซึ่งส่งผลถึงโรงเรียนให้มีการพัฒนาหลักสูตรให้นำไปปฏิบัติได้จริงและบังเกิดผลให้นักเรียนได้เรียนรู้
ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน
ก. ปัจจัยภายนอก ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ความคาดหวังของผู้ปกครองความต้องการของนายจ้าง ความต้องการของสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก และอุดมคติของสังคม
2. การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและหลักสูตร
ซึ่งประกอบด้วย นโยบายการศึกษา ระบบการสอน อำนาจในการตัดสินใจของท้องถิ่น
ผู้จบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวิชา
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย
4. การเพิ่มศักยภาพของครูอาจารย์
ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
5. การนำทรัพยากรใช้ในโรงเรียน
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ข. ปัจจัยภายใน ได้แก่
1. เจตคติ
ความสามารถและความต้องการทางการศึกษาของนักเรียน
2. ค่านิยม
เจตคติ ทักษะ ประสบการณ์ของครู ที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของการจัดการเรียนการสอน
3. ความคาดหวังของโรงเรียน
โครงสร้างการบริหารงาน การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา
วิธีจัดประสบการณ์ให้นักเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนบรรทัดฐานทางสังคม
การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์
4. วัสดุอุปกรณ์
ทรัพยากร งบประมาณ แผนงาน และศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
5. การยอมรับและการรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักสูตรมาใช้
ขั้นตอนที่ 2
การกำหนดวัตถุประสงค์ (DEFINE OBJECTIVES) การวิเคราะห์สถานการณ์ในขั้นตอนที่
1
เพื่อนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์แปลงเปลี่ยนไปตามปัจจัยภายนอกและภายใน
สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ สอดคล้องกับค่านิยม ทิศทางที่กำหนด
รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการจัดการศึกษา
การกำหนดวัตถุประสงค์ควรเขียนในลักษณะการเรียนรู้ที่คาดหวังจากนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไปกับวัตถุประสงค์เฉพาะ
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น นักเรียน
ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และนักวิชาการ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน (DESIGN THE TEACHING
LEARNING PROGRAMME) เป็นการออกแบบการเรียนการสอนต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
โรงเรียนต้องตอบคำถามพื้นฐาน เช่น จะสอนอะไร
และนักเรียนจะเรียนรู้อะไรซึ่งต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายวิชาที่นำมาจัดการเรียนการสอน
การกำหนดแบบแผนการสอนและการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
3.1
ข้อมูลพื้นฐานหรือทิศทางของหลักสูตรที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง
เป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกตามความสนใจ
3.2
การจัดกลุ่มและการบูรณาการของสาระวิชาต่างๆ
3.3
การจัดกลุ่มนักเรียน ซึ่งอาจจัดตามความสนใจของนักเรียน
จัดให้เด็กเรียนเก่งเรียนด้วยกันและไม่เก่งเรียนด้วยกัน
หรือจัดให้เด็กที่มีความสนใจต่างกันเรียนด้วยกัน
3.4
ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ กับเป้าหมายของหลักสูตร
3.5
การเรียงลำดับของเนื้อหาการสอน
3.6
สถานที่ ทรัพยากร อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.7
ออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน
3.8
แต่งตั้งคณะทำงาน
3.9
จัดทำตารางและกิจกรรมในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 4
การนำหลักสูตรไปใช้ (INTERPRET AND IMPLEMENT THE
PROGRAMME) การวางแผนและการออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้หลักสูตรนั้นนำไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ซึ่งดูจากผลการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายว่าการเรียนการสอนเป็นไปตามความต้องการหรือไม่
มีแผนงานใดที่มีความพร้อมมากที่สุด และรับรองคุณภาพได้ดังนั้น ครูต้องมีจิตสำนึกในความเป็นมืออาชีพที่ต้องติดตามควบคุม
ดูแล และประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่ออกแบบและดำเนินการอยู่มีประโยชน์คุ้มค่า
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าภาค
อาจไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปัญหาการขาดการเอาใจใส่จากครู
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้นการบริหารหลักสูตรที่ทำให้เกิดการยอมรับ
และนำไปใช้ได้จริงๆ
ต้องดำเนินการโดยผู้ที่อยู่ในโรงเรียนซึ่งก็คือครูนั่นเองครูเป็นผู้ที่ใกล้ชิดและทราบข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ
ความต้องการของนักเรียนเป็นอย่างดีดังนั้น การปฏิบัติเพื่อพัฒนาหลักสูตรต้องเหมาะสมและต้องสอดคล้องกับศักยภาพของครู
การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับครู ครูต้องเป็นบุคลากรหลักในการออกแบบและการนำไปใช้ นั่นคือ
ครูต้องเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรดัวยตนเอง
ดีกว่ารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่บุคคลอื่นเป็นผู้จัดทำให้
ขั้นตอนที่ 5
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร (ASSESS
AND EVALUATE) การประเมินการเรียนรู้ (ASSESSMENT)
เป็นการตัดสินคุณค่าในศักยภาพการเรียนรู้และการปฏิบัติของผู้เรียนรู้
ส่วนการประเมินผล (EVALUATION) หมายถึงการรวบรวมหลักฐานเพื่อนำมาตัดสินคุณค่าเกี่ยวกับหลักสูตร
ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การออกแบบ การนำไปใช้
รวมทั้งผลการปฏิบัติหรือผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งการประเมินการปฏิบัติของผู้เรียนเป็นการกำหนดเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องบรรลุ เช่น
การกำหนดชิ้นงาน การสังเกต การบันทึกการทำงาน การสอน การรายงานผล การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องมีแนวทางที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุม
รวมทั้งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องทุกครั้ง ดังนั้น
การประเมินจึงไม่ใช่กิจกรรมที่กระทำรวบยอดครั้งเดียว
แต่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งผู้ออกแบบหลักสูตรด้วยการกระทำเช่นนี้เป็นวงจรต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผู้เรียนและหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
5.1.6
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวอล์คเกอร์ (DECKER
WALKER)
เดคเกอร์ วอล์คเกอร์ (DECKER
WALKER) ปฏิเสธแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรด้วยการกำหนดสิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวกับหลักสูตรด้วยการอธิบายเชิงเหตุผลโดยปราศจากการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงมาก่อน
วิธีการของวอล์คเกอร์เป็นวิธีการศึกษาแบบประจักษ์นิยม (EPIRICALISM)
หรือเป็นวิธีการศึกษาแบบธรรมชาติ
(NATURALISTIC MODEL) ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ทางสังคม
และผ่านกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างเหมาะสมก่อนการตัดสินใจออกแบบหลักสูตร
ส่วนผลการพิจารณาจะออกมาเช่นไรก็ยอมรับตามสภาพการณ์ซึ่งเป็นวิธีคล้ายกับเติบโตของสิ่งต่างๆ
ในธรรมชาติ (MARSH , 1986 , CURRICULA ; AN
ANALYTICAL INTRODUCTION : 53-57)
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวอล์คเกอร์
แบ่งเป็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรออกเป็น 3
ขั้นตอน คือ (WALKER , 1971 , CURRICULUM THEORY
NETWORK : 58-59)
ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งได้มาจากการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ได้จากมุมมองต่างๆ
ความเชื่อ ค่านิยม ทฤษฎี แนวคิด เป้าหมาย
เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาสร้างหลักสูตรต่อไปในอนาคต ทั้งนี้
มีความจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ไว้ล่วงหน้าซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินการขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2
การพิจารณาไตร่ตรอง (DELIBERATES) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาต่างเข้ามาสู่กระบวนการปรึกษาหรือการอภิปราย
การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อพิจารณาทางเลือกต่างๆ ก่อนที่จะออกแบบหลักสูตร
โดยการถ่วงน้ำหนักทางเลือกต่างๆ (EIGHT ALTERNATIVES) ในทุกๆ
ด้านอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในเชิงต้นทุน ค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับมา
การพิจารณาทางเลือกนี้จะก่อให้เกิดความไม่แน่ใจว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ดังนั้น
จึงสามารถที่จะยอมรับหรือปฏิเสธได้อย่างเต็มที่ก่อนการกำหนดทิศทางที่ถูกต้องในการออกแบบหลักสูตรต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
การออกแบบหลักสูตร (CURRICULUM DESIGN) เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับสาระสำคัญของหลักสูตรก่อน
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบอย่างรอบด้านของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ซึ่งไม่กำหนดรูปแบบหลักสูตรไว้ล่วงหน้า
แต่ใช้ในการแสวงหาความเหมาะสมที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสถานการณ์
เป็นการเลือกที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้ว และมีความชัดเจนในองค์ประกอบต่างๆ
โดยสามารถชี้เฉพาะเจาะจงความต้องการหลักสูตรของชุมชนได้ชัดเจนมากยิ่งกว่า
รูปแบบของหลักสูตรเชิงวัตถุประสงค์การออกแบบหลักสูตรเชิงพลวัตเป็นพรรณนาความเชื่อมโยงจากข้อมูลพื้นฐาน
โดยนำตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาสู่กระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ (DELIBERATIONS)
ซึ่งเป็นการเลือกวิธีที่ดีที่สุดจากนั้นเริ่มก้าวไปสู่จุดสุดท้าย
คือ การออกแบบหลักสูตรที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
5.2 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานเท่าที่ผ่านมาเป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับนโยบาย
โดยกรมวิชาการ เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรระดับชาติ
รวมทั้งเป็นผู้จัดเนื้อหาสาระแบบเรียน สื่อรายวิชาต่างๆ
ให้โรงเรียนใช้เหมือนกันทั่วประเทศ แม้ว่าในคู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง
พุทธศักราช2533) เปิดโอกาสให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้เอง
แต่ก็มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยมากคือประมาณร้อยละ 27
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2543
: 296) ที่มีหลักสูตรสอดคล้องกับท้องถิ่นและผู้เรียน
ดังนั้น
การศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ในบริบทของประเทศจากแนวคิดของหน่วยงานต่างๆ
ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบ รวมทั้งแนวคิดของนักวิชาการ
อันนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นรูปแบบสำหรับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนในครั้งนี้
มีดังต่อไปนี้
5.2.1
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2539
: 2-35) ได้กำหนดให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรเองได้ภายใต้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร
4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
1. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยศึกษาจากคำอธิบายหรือคำอธิบายวิชาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
1.1
กิจกรรม ได้แก่
ส่วนที่ระบุถึงแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องจัดให้แก่ผู้เรียนสังเกตได้จากคำว่า
ศึกษาค้นคว้า ทดลอง สำรวจ ฝึก ปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย ฯลฯ
1.2
เนื้อหา ได้แก่
ส่วนที่ระบุถึงหัวข้อหรือขอบข่ายของเนื้อหาที่จะนำมาให้ผู้เรียนหรือฝึกเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์
1.3
จุดประสงค์ ได้แก่ ส่วนที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือฝึกทักษะตามที่ได้ระบุไปแล้วในข้อ 1.1
และ 1.2
พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นนี้ประกอบด้วนส่วนที่เป็นความรู้ ทักษะ เจตคติ
และกระบวนการ
ผลที่ได้จากการศึกษา
วิเคราะห์ คำอธิบาย
หรือคำอธิบายรายวิชานี้
ช่วยทำให้ผู้สอนมองเห็นภาพงานสอนของเนื้อหาหรือรายวิชาดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น
ว่าต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีใด
มีขอบข่ายเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้หรือฝึกทักษะอะไรบ้าง
และประการสุดท้ายต้องการให้ผู้เรียนมีหรือเกิดพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ
เจตคติ รวมทั้งการจัดการอะไรบ้าง กิจกรรมต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมานี้
หลักสูตรกำหนดไว้กว้างๆ
เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวควรจัดโดยวิธีใด
จัดอย่างไรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
เนื้อหาและตัวผู้เรียน เช่น
กิจกรรม “ศึกษา”
สามารถจะจัดรูปแบบหรือวิธีการ “ศึกษา” ได้หลายวิธี เช่น
-
ฟังคำอธิบายจากครู
-
ค้นคว้าจากห้องสมุดของโรงเรียน
-
ค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการอื่นๆ
-
เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาบรรยาย
-
ออกไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
-
ออกไปสำรวจดูสภาพจริงในพื้นที่
-
สังเกตสิ่งแวดล้อม
-
ออกไปทัศนศึกษา
-
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
-
นำหรือพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
-
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เช่น
ความสัมพันธ์ด้านความเหมือนและความแตกต่างสิ่งที่เป็นเหตุและผล
ฯลฯ
จะเห็นได้ว่ากิจกรรมการ
“ศึกษา” นั้น โรงเรียนสามารถ “ศึกษา” ตามที่กำหนดได้ด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธี
และแต่ละวิธีมีขั้นตอนของการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าโรงเรียนต้องตัดสินใจเลือกหรือปรับกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นลักษณะใดก็ตาม
กิจกรรมที่จัดนั้นต้องเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้เรียนรู้จริงเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้มากที่สุด
ต้องจัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์ของโรงเรียน
ที่สำคัญต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป
2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้
เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่โรงเรียนได้วิเคราะห์เนื้อหา/คำอธิบายรายวิชามาแล้ว
โรงเรียนต้องนำเอาผลการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นเนื้อหามาวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าจากหัวข้อหรือขอบข่ายเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดไว้ในแต่ละหัวข้อนั้นควรมีการเพิ่มเติมวิเคราะห์รายละเอียดอะไรอีกบ้างว่าพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดเนื้อหานี้
โรงเรียนสามารถพิจารณากำหนดรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
โดยต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนไปและต้องไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลาและผู้เรียนด้วยการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้
โรงเรียนสามารถดำเนินการได้เอง
3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ด้วยการเลือก
ปรับปรุงหรือจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ มีลักษณะดังนี้
3.1
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน จำแนกประเภทตามลักษณะของสื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
3.1.1
หนังสือเรียน
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง
อาจมีลักษณะเป็นเล่ม เป็นแผ่นหรือเป็นชุดก็ได้
3.1.2
คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอน หรือเอกสารอื่นๆ
ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
3.1.3
หนังสือเสริมประสบการณ์
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการศึกษาหาความรู้ของตนเอง
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา
การเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพิ่มพูนความรู้
ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น หนังสือประเภทนี้โรงเรียนควรจัดไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน
หนังสือเสริมประสบการณ์จำแนกออกเป็น 4
ประเภท คือ
1. หนังสืออ่านนอกเวลา
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน
โดยถือว่ากิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม
เป็นหนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตรสำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง
ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล
หนังสือประเภทนี้เคยเรียกว่าหนังสืออ่านประกอบ
3. หนังสืออุเทศ
เป็นหนังสือสำหรับใช้ค้นคว้าอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียน
โดยมีการเรียบเรียงเชิงวิชาการ
4. หนังสือส่งเสริมการอ่าน
เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่าน
และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้นอาจเป็นหนังสือวรรณคดี นวนิยาย นิยาย ฯลฯ
ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้
มีคติและสาระประโยชน์
3.1.4
แบบฝึกหัด เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะและความแตกฉานในบทเรียน
3.1.5
สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น สื่อประสม วีดีทัศน์ เทปบันทึกเสียง ภาพพลิก แผ่นภาพ
เป็นต้น
สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนสามารถเลือกใช้
ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
3.2
การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
และสื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
อีกทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ผลิตจากส่วนกลางก็มักจะให้เนื้อหาทั่วไปๆ
ซึ่งไม่เจาะจงเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
ฉะนั้นโรงเรียนจึงควรเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นตน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.2.1
วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์จุดประสงค์ คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา
และคาบเวลาเรียน ที่ปรากฏในหลักสูตรว่า วิชา/รายวิชานั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้
เจตคติ ค่านิยม ทักษะ และการปฏิบัติอย่างไร มีขอบข่ายเนื้อหาเพียงใด
และมีคาบเวลาเรียนเท่าไร
เพื่อนำมากำหนดสื่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.2.2
สำรวจ รวบรวมสื่อการเรียนการสอน ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับจุดประสงค์และคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาจากแหล่งต่างๆ
เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ร้านจำหน่ายหนัง ฯลฯ
เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร
3.2.3
วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอน ที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมไว้ตาม ข้อ 3.2.2
เพื่อพิจารณาว่าสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรได้หรือไม่เพียงใด
3.3
การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
โรงเรียนอาจปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนทั้งหนังสือเรียน
คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอนหนังสือเสริมประสบการณ์
ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ปรับรายละเอียด หรือให้เป็นปัจจุบันได้
3.4
การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
เมื่อโรงเรียนได้วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอนเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นแล้วพบว่า
มีความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่เพื่อให้สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เช่น หนังสือเรียน คู่มือครู แผนการสอน หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัด
สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เป็นต้น
4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
แนวการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติม
การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้เป็นการจัดทำวิชาหรือรายวิชาขึ้นใหม่
หลังจากที่ศึกษามาแล้วพบว่า
สิ่งที่ควรพัฒนานั้นไม่มีปรากฏอยู่ในหลักสูตรของกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชา/กลุ่มวิชาใดๆ
ในหลักสูตรแกนกลาง การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำรายวิชา/รายวิชาขึ้นใหม่นี้
ควรดำเนินการในรูปแบบของคณะทำงานโดยมีขั้นตอนการจัดทำดังนี้
1. ศึกษาจุดหมายของหลักสูตร
จุดประสงค์และโครงสร้าง เนื้อหาของกลุ่มประสบการณ์/กลุ่มวิชา/รายวิชาต่างๆ
จากหลักสูตรแกนกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาจัดทำและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่
2. นำเอาผลการศึกษาผลการวิเคราะห์สภาพที่ควรจะเป็นของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น
ที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดจุดประสงค์และเนื้อหา
3. กำหนดจุดประสงค์ของวิชา/รายวิชาที่จะดำเนินการจัดทำขึ้นใหม่
โดย
3.1
วิเคราะห์จากปัญหา/ความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งได้แก่
สิ่งที่ต้องการให้รู้พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดและเงื่อนไขต่างๆ (ถ้ามี)
3.2
กำหนดจุดประสงค์ให้ครอบคลุมกับสภาพที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้น
ไม่ใช่การดำเนินการงานหรือกิจกรรม
4. กำหนดเนื้อหา
โดยการวิเคราะห์จากจุดประสงค์ ซึ่งระบุคำหลักของจุดประสงค์รายวิชานั้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้ (สิ่งที่ให้ผู้เรียน/ศึกษา) และส่วนที่เป็นทักษะ (สิ่งที่ต้องการฝึก)
เนื้อหาที่กำหนดนี้ต้อง
4.1
สอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชา
4.2
ประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้และทักษะ
4.3
เหมาะสมกับวัยและพื้นความรู้ของผู้เรียน
4.4
เหมาะสมกับคาบเรียน
4.5
ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ ระบบการปกครองตามหลังประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
5. กำหนดคาบเวลาเรียนสำหรับคำอธิบายหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่
ในการกำหนดคาบเวลาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น ระดับประถมศึกษา
จำนวนคาบเวลาเรียนที่กำหนดขึ้นนั้นต้องไม่ทำให้คาบเวลาเรียนสำหรับกลุ่มประสบการณ์/หน่วยย่อยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
6. เขียนคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา
ให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแม่บทโดยระบุแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
7. จัดทำเอกสารชี้แจงรายละเอียดประกอบการจัดทำวิชาหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่
ตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยให้มีรายละเอียดเนื้อหา ประกอบด้วย
7.1
เหตุผลความจำเป็น
7.2
จุดประสงค์ (ของวิชา/รายวิชาที่จัดทำ)
7.3
ขอบข่ายเนื้อหา
7.4
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
7.5
สื่อการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน
7.6
แนวการวัดผลประเมินผล
8. ในการเสนอขออนุมัติ
ให้ส่งเอกสารในข้อ 6
และ 7
ให้แก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ
เมื่อได้รับอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาดังกล่าวแล้วจึงนำเอาคำอธิบายหรือรายวิชาดังกล่าวมาจัดทำการเรียนการสอนในโรงเรียนและต้องไม่ลืมว่า
เนื้อหารายวิชาที่ทำขึ้นใหม่ต้องไม่เป็นเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วในแม่บท
เนื้อหาในกลุ่มประสบการณ์/รายวิชา/กลุ่มวิชาเดียวกันหรือต่างกลุ่มกันก็ตาม
ดังนั้นต้องตรวจสอบรายละเอียดของเนื้อหาก่อนลงมือพัฒนา
สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำประกอบด้วยเกณฑ์ต่างๆ
ดังนี้
1. สนองและสอดคล้องกับหลักการ
จุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร
2. เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความรู้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์หรือกลุ่มวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรทั้ง
3ระดับกำหนดไว้
3. สอดคล้องและสนองต่อสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
4. มีความสมบูรณ์และความพร้อมเพียงพอในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบ
5. เป็นผลผลิตจากการนำข้อมูลในระดับท้องถิ่นมาพัฒนาการเรียนการสอน
ทั้งในด้านหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเทคนิคการสอน
6. ไม่เป็นเนื้อหาวิชา/รายวิชาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาวิชาหรือรายวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรแกนกลาง
7. ไม่มีเนื้อหาที่กล่าวมาโดยตรงกับพาดพิงในลักษณะที่ลบหลู่สถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ขัดต่อหลักการปกครองระบบประชาธิปไตย
ไม่ขัดกับหลักศีลธรรมอันดี และไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ
8.มีรูปแบบและวิธีการเขียนสอดคล้อง
และเป็นไปตามที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการปรับกิจกรรม ปรับเนื้อหา ปรับปรุงสื่อ
และเพิ่มเติมรายวิชาดังกล่าวมาแล้ว
กรมวิชาการได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น
และปรับปรุงแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการเพิ่มกิจกรรมการจัดทำสื่อใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543: 4-6) มีดังนี้
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆ
เช่น
1.1
ด้านการศึกษา
1.2
ด้านเศรษฐกิจ
1.3
ด้านสังคมวัฒนธรรม
1.4
ด้านสิ่งแวดล้อม
1.5
ด้านการสื่อสาร/คมนาคม
1.6
ด้านประชากร
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรในด้านต่างๆ
ดังนี้
2.1
หลักการ จุดหมาย และโครงสร้าง
2.2
จุดประสงค์และคำอธิบายรายวิชา
3. วางแผนและจัดทำหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ
เช่น
3.1
การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
3.2
การปรับรายละเอียดเนื้อหา
3.3
ปรับปรุง และ/หรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
3.4
จัดทำสื่อการเรียนขึ้นใหม่
3.5
จัดทำคำอธิบายและรายวิชาเพิ่มเติม
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการสอน
การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะที่
3.1-3.4
สถานศึกษาไม่จำเป็นตองขออนุมัติ/ขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษาสามารถดำเนินจัดทำคำอธิบาย หรือคำอธิบายรายวิชาขึ้นมาใหม่แล้ว
สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเสนอในกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับการอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้ได้แล้วจึงจะสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้
ดังภาพประกอบ 10
ดังนี้
5.2.2
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ (2541 : 2) เปิดโอกาสให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรได้เอง
โดยพัฒนา “หลักสูตรท้องถิ่น” และให้ความหมายว่า
เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลางที่ปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียนตามท้องถิ่นต่างๆ
หรือสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน
หลักสูตรท้องถิ่นมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ
เน้นการเรียนรู้ชีวิตของตนเอง ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ
การใช้เทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูลในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพชีวิตจริงของตนเอง
สามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของครอบครัวและท้องถิ่นได้
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่นำหลักสูตรแกนกลางมาปรับให้เข้ากับสภาพของผู้เรียน
ซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหาของชุมชน
การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง ครูและผู้เรียนต้องร่วมกันศึกษาหลักสูตรแกนกลางที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนสร้างขึ้น
กำหนดหมวดวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องเรียน
เนื้อหาหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดเป็นเนื้อหากลางทั่วไปตามหลักทฤษฎีของหมวดวิชานั้นๆ
ศึกษารายละเอียดของแต่ละหมวดวิชา วิเคราะห์หัวข้อของเนื้อหาดังนี้
1.1
ศึกษาหลักสูตรแกนกลางในระดับที่นำมาจัดการเรียนการสอน (ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย
ทุกหมวดวิชา)
1.2
วิเคราะห์หัวข้อเนื้อหาที่ต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตามสภาพปัญหาของชุมชนที่สำรวจมาแล้ว
และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของท้องถิ่น
1.3
พิจารณาหัวข้อเนื้อหาในหมวดวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องนำมาจัดหมวดหมู่ด้วยกันในลักษณะบูรณาการเนื้อหา
ขั้นตอนที่ 2
การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
นำสภาพปัญหาและความต้องการที่สำรวจและวิเคราะห์แล้วมาพิจารณาร่วมกับหัวข้อเนื้อหา
หมวดวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรที่กำหนดเป็นหมวดวิชาแกนในการพัฒนาเป็นหลักสูตรโรงเรียนแล้วจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการหลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญตามสภาพปัญหาของท้องถิ่นที่พบ
ขั้นตอนที่ 3
การเขียนแผนการสอนโดยดำเนินการดังนี้
3.1
การกำหนดหัวข้อปัญหา (THEME) หัวข้อเนื้อหาของการเรียนการสอน
3.2
การเขียนสาระสำคัญ (CONCEPT) เป็นบทสรุปใจความสำคัญของเรื่องเน้นความคิดรวบยอด
หลักการ ทักษะหรือลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดกับผู้เรียน
3.3
การกำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้ระบุว่าหัวข้อเนื้อหาครอบคลุมและสัมพันธ์กับ วิชาใด
3.4
กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทางเป็นจุดประสงค์ที่คาดว่าผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร
หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้
ทักษะและทัศนะคติอย่างไรเมื่อเรียนจบเรื่องนั้นแล้ว
3.5
การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
เป็นการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละหัวเรื่องย่อยที่ปรารถนาให้เกิดกับผู้เรียน
นิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.6
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้กำหนดกิจกรรมตามขั้นตอนของทฤษฎีเชิงระบบ (SYSTEM
APPROACH)
3.7
สื่อการเรียนการสอน
ต้องระบุให้ชัดเจนว่าในการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อเนื้อหาต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง
และสามารถจัดหาจากที่ใด โดยวิธีใด ต้องระบุเป็นรายข้อตามจุดประสงค์
3.8 การประเมินผล
เป็นการเขียนแนวทางการประเมินผลของการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตามจุดประสงค์ที่กำหนด
โดยให้ผู้เรียนรวบรวมผลงานไว้ นำเสนอครูประจำกลุ่ม โดยการพรรณนางานที่รวบรวมไว้
เกี่ยวกับอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการรวบรวมผลงาน
และมีแนวคิด มีการพัฒนาอะไรต่อไป มีความพึงพอใจกับชิ้นงานมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนที่ 4
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาโดยมีสถานศึกษาอำนวยความสะดวกและกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ซึ่งสถานศึกษาโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นผู้อนุมัติหลักสูตรที่ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นตามความต้องการทางนโยบายของรัฐความต้องการทางการศึกษาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน
โดยมีวิธีดำเนินตามลำดับ ดังนี้
4.1
ครูนำหลักสูตรท้องงถิ่นที่พัฒนาแล้ว นำเสนอศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
เพื่อนำเสนอศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นรายภาคเรียน
แต่ในกรณีไม่ต้องขออนุมัติใหม่หรือในกรณีหลักสูตรวิชาชีพให้นำเสนอเป็นคราวๆ ไป
ที่พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง
4.2
ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามสภาพความเป็นไปได้ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการหาความรู้ (INPUT)
กระบวนการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับ/ประยุกต์ใช้
(PROCESS) และกระบวนการแสดงผลของความรู้หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิต
(OUTPUT)
4.3
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกระบวนการ โดยยึดวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ (SYSTEMS
APPROACH: I-P-O)
ขั้นตอนที่ 5
การประเมินผล
การประเมินผลเน้นการประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง
(AUTHENTIC ASSESSMENT) ซึ่งประเมินอิงความสามารถและการพัฒนาผู้เรียนมุ่งเน้นความก้าวหน้า
การเปลี่ยนแปลงที่เป็นชีวิตจริงของผู้เรียนแต่ละคนสะท้อนให้เห็นสภาพของงานและสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ
โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างคำตอบด้านการแสดง
การสร้างสรรค์ผลผลิตของงานเป็นการประเมินผลงานของผู้เรียนที่ได้ทำจริง
ปฏิบัติจริง
ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเรียน หรือกระบวนการรวบรวมเหตุการณ์
ข้อมูลที่ผู้เรียนทำได้และแปลความหมายของข้อมูลหรือเหตุการณ์แล้วตัดสินใจจากข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น
ในทางปฏิบัตินิยมใช้วิธีการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (PORTFOLIO)
ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงความสามารถ
ความก้าวหน้าของผู้เรียน จากการรวบรวมข้อมูลผลผลิต การแสดงออก
การประเมินจากสภาพจริง
ในงานที่มีความหมายและมีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนจะสะท้อนถึงความสามารถ
การถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับ
โครงสร้างและประมวลความรู้ความคิดในขั้นสูงรวมทั้งคุณภาพของการแสดงออกและผลผลิตที่มีคุณภาพ
ตาราง 1
แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
รูปแบบ/สาระ
ไทเลอร์
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
4 ประการ คือ
จุดมุ่งหมาย ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
ทาบา
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า (GRASS-ROOTS
APPROACH) หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7
ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์ความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย
3. คัดเลือกเนื้อหา 4.
การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5. การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้
7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4 ขั้นตอน คือ 1.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2. การออกแบบหลักสูตร
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผลหลักสูตร
โอลิวา
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12
ขั้นตอน คือ 1. จุดหมายของการศึกษา
2. ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน
3. เป้าหมายหลักสูตร 4.
จุดประสงค์หลักสูตร
5. นำหลักสูตรไปใช้ 6.
เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ
7. จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน 9.
เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง 10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง
11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
สกิลเบ็ก
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต ประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ 1.
การวิเคราะห์สถานการณ์
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ 3.
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน
4. การนำหลักสูตรไปใช้ 5.
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
วอล์คเกอร์
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม
ประกอบด้วยขั้นตอน
3 ขั้นตอน คือ 1.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การพิจารณาไตร่ตรอง
3. การออกแบบหลักสูตร
กรมวิชาการ
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร
3. วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้
5. จัดทำแผนการสอน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5
ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง 2.
การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
3. การเขียนแผนการสอน 4.
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การประเมินผลผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรของไทยนั้นยังมีน้อยมาก
ส่วนมากจะเป็นรูปแบบตามแนวคิดของชาวต่างประเทศ
ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้เสนอรูปแบบไว้ดังนี้
5.2.4
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (TYLER)
ใน ค.ศ. 1949
ไทเลอร์ได้เขียนหนังสือเรื่อง BASIC PRINCIPLES OF
CURRICULUM AND INSTRUCTION ซึ่งเสนอแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี
คือ หลักสูตรและเหตุผลพื้นฐาน 4
ประการ คือ
1. มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา
2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร
จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
4. จะประเมินผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
จากพื้นฐานทั้ง 4
ข้อ ชี้ให้เห็นว่า
การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรด้วย
รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
1. การกำหนดจุดมุ่งหมาย ก่อนจะกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างกว้างๆ
นั้น จะต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
เช่น แหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ
และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญทางสังคม
และความมุ่งหวังทางสังคม เป็นต้น แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียน
ซึ่งเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ และคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ
และแหล่งที่สามก็คือ คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาการต่างๆ
หรือจากผลการวิจัยที่สรุปให้ข้อคิดเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรจัดการเรียนการสอนแล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันจนเป็นจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆ
ของหลักสูตรหรือจุดประสงค์ชั่วคราว (TENTATIVE
OBJECTIVES) จากนั้นจุดประสงค์ชั่วคราวจะได้รับการกลั่นกรองจากข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาสังคม และจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งจะตัดทอนจุดประสงค์ที่ไม่จำเป็นออกและทำให้จุดประสงค์มีความชัดเจนขึ้น
จุดประสงค์ที่ได้นี้เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตร
จากนั้นจึงเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น
2. การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน
การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่างไร
กิจกรรมที่จัดทั้งในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้กระบวนการการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
2.1
ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรม
และเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.2
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์
2.3
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
2.4
กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
2.5
ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆ
ข้อได้
นอกจากนั้น
ไทเลอร์ยังเน้นเกี่ยวกับการพิจารณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา
และเนื้อหาต่อเนื้อหา
เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ แนวตั้ง
(VERTICAL) กับ แนวนอน (HORIZONTAL)
ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดดังนี้
1. ความต่อเนื่อง
(CONTINUITY) หมายถึง
ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไป
เช่น ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ
และต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ
(SEQUENCE) หมายถึง
ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของหลักสูตรจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง
หรือจากสิ่งที่มีความง่ายไปสู่ที่มีความยาก ดังนั้น
การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียนลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ
(INTEGRATION) หมายถึง
ความสัมพันธ์กันในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตร
จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา
หรือจากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถของผู้เรียนให้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (INTERACTION) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์แวดล้อม
3.การประเมินผล
เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
สมควรจะมีการปรับแก้ไขส่วนใดบ้าง ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
3.1
กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
3.2
วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
3.3
ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
3.4
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
3.4.1
ความเป็นปรนัย (OBJECTIVITY)
3.4.2
ความเชื่อมั่นได้ (RELIABILITY)
3.4.3
ความเที่ยงตรง (VALIDITY)
3.4.4
ความถูกต้อง (ACCURACY)
3.5
การพิจารณาผลการประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การอธิบายถึงส่วนดีของหลักสูตรหรือสิ่งที่จะต้องปรับแก้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของไทเลอร์ เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์และจะพบว่า
การพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนคล้ายกับวิธีการของไทเลอร์มาก เช่น การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ไทเลอร์ได้ใช้สังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐานและการจัดการศึกษาของเราในปัจจุบันนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์สังคมจนสรุปออกมาเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาว่าเป็น
“การศึกษาเพื่อพัฒนาตนและทำประโยชน์ให้กับสังคม”
แนวคิดของไทเลอร์ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
และกระบวนการเรียนการสอน
และนอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย
สรุป(SUMMARY)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของชาติ
เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเล็งเห็นถึงความสำคัญและทำหน้าที่ในจุดนี้อย่างเต็มความสามารถ
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ
สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ดีในการจักการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ
ตามจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องมีการวางแผนเพื่อการพัฒนานับแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
การศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการเลือกรูปแบบที่เหมาะสม กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายอย่างกว้างขวาง
ที่สามารถพัฒนาได้ทั้งกระบวนการ นับแต่การกำหนดจุดมุ่งหมาย
การจัดเนื้อหาสาระของหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินผลหลักสูตร
และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรเฉพาะส่วนที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา หรือพัฒนาในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้
หรือการจัดการเรียนการสอนก็ตาม
จุดประสงค์สำคัญก็คือการให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพสามารถนำมาจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนสังคมและประเทศชาติ
สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา
และสามารถรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้
ตรวจสอบทบทวน(SELF-TEST)
1.
การพัฒนาหลักสูตร
มีหลักการและขั้นตอนสำคัญ
2.
ในการพัฒนาหลักสูตรแนวคิดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของใครที่ควรนำมาใช้
ด้วยเหตุผลใดเป็นสำคัญ
กิจกรรม(ACTIVITY)
1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
2.
ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ
อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร :
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ”
3.
แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา
หรือผู้รู้ เกี่ยวกับจุดเด่นจุดด้อยของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น