3.
พื้นฐานทางด้านสังคม
บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของการศึกษา
คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมให้สอดคล้อง
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้ง
สนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษา
จึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา
การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ
จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสังคม
หนังสือคลื่นลูกที่
5 ปราชญ์สังคม ของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการคลื่นลูกที่ห้าอันเป็นคลื่นของสังคมแห่งอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง
คลื่นลูกใหม่ๆจะเกิดขึ้นตามมาอีก อันเป็นวัฏจักรธรรมชาติของมนุษย์
เมื่อประมวลภาพที่นักอนาคตวิทยาพยายามฉายภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วสามารถสรุปลักษณะของพัฒนาการของสังคมและพฤติกรรมการสื่อสารในยุคต่างๆได้ดังนี้
1.
ยุคสังคมเกษตรกรรม (Agricultural
Society) เป็นสังคมเชิงซ้อนที่มีสมาชิกในครัวเรือนอยู่ร่วมกันหลายรุ่น
รู้จักทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
การจัดการศึกษาจะสอนการดำรงชีวิตตามสภาพ
2.
ยุคสังคมอุตสาหกรรม (Industrial
Society) ในยุคนี้สังคมมีการพัฒนาแปรรูปเป็นสังคมเชิงเดี่ยว
มีการใช้แรงงานเด็กและสตรนโรงงาน
เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม
การจัดการศึกษาใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือทำเป็นขั้นตอน จัดระบบเป็นหมวดหมู่
เป็นระเบียบ
3.
ยุคสังคมข่าวสาร (Information
Society) สังคมในยุคนี้มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์
ด้านเครือข่ายการสื่อสารและคมนาคม ทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
มนุษย์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูล
จัดเก็บสารสนเทศเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้สะดวกรวดเร็วช่วยนกในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4.
ยุคสังคมฐานการเรียนรู้ (Knowledge
based Society) ในยุคนี้ทุกคนถูกบังคับให้ต้องให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นตามลำดับ
โดยมีความรู้เป็นแกนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่เหมาะสม
ดังนั้นสภาพของแรงงานในยุคนี้จะเป็นแรงงานที่มีความรู้
5. ยุคสังคมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence society) จะเน้นการใช้ปัญญาควบคู่กับการพัฒนา
ความสำเร็จของประเทศและสังคมในยุคนี้ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบใดๆ
แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถและวิสันทัศน์ทางปัญญาของประชาชนและผู้นำในสังคมที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้สังคมอนาคตของมนุษยชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น