2. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
                ข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ หรืออาศัยนักจิตวิทยาให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำหลักสูตร ในประเด็น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร คาบเรียน เกณฑ์อายุมาตรฐานการเข้าเรียน การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
                พื้นฐานทางด้านจิตวิทยาในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist theory) มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อ  พฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อม นั่นคือ ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (Cognitivist theory) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข
               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivationtheory)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน (self) ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่ บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนด้วยตนเอง (self determinism) ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
               ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม(Constructivism  theory)  เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้นี้จะฝังติดอยู่กับคนสร้าง ดังนั้นความรู้ของแต่ละคนเป็นความรู้เฉพาะตัวเป็นสิ่งที่ตนสร้างขึ้นเองเท่านั้น  โดยนักเรียนจะเป็นผู้กำหนดหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียนและวิธีการเรียนของตนเอง  และเป็นผู้ตัดสินว่าตนเองจะได้เรียนรู้อะไร  เรียนรู้อย่างไรและพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร  สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในบริบทอื่นได้อย่างเหมาะสม  เรียนรู้จากการปฏิบัติมีอิสระในการคิดและทำสิ่งต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง  และเรียนรู้บรรยากาศการเรียนที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ภายใต้การอำนวยความสะดวกของครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น