ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ในบทบาทของครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาจะต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
1.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือมวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดใหกับผู้เรียน
ซึ่งหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหา
และความสัมพันธ์กับเวลา
โดยรูปแบบหลักสูตรระดับห้องเรียน
2.
ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา
การศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านวิชาการ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่สัมฤทธิ์ผลต่อไป
3. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย
วงศ์ใหญ่ (2543
, น. 77)
ได้เสนอรูปแบบและแนวคิดของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
ดังนี้
1.
การกำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการ โครงสร้าง
และการออกแบบหลักสูตร
2.
ยกร่างเนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มประสบการณ์
แต่ละหน่วยการเรียนและรายวิชา
3.
นำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
4.
อบรมครู ผู้บริหารทุกระดับ และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่
5.
นำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน
และประกาศใช้หลักสูตร
โดยมีกิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่ ดังนี้
การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ
การจัดทำวัสดุหลักสูตร ได้แก่ เอกสารและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็น
ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ
เช่น บุคลากร วัสดุหลักสูตร และบริการต่าง
ๆ เริ่มตั้งแต่อบรมครูและบุคลากรฝ่ายบริหารหลักสูตร ห้องสมุด
ห้องเรียน
รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ
การสอน เป็นหน้าที่ของครูปฏิบัติการทั่วไป
การประเมินผล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
การประเมินผลการเรียนของนักเรียน
และการประเมินผลหลักสูตร
ตั้งแต่ประเมินเอกสาร
ผลการนำหลักสูตรไปใช้
และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4.
การบริหารหลักสูตร
การบริหารหลักสูตร
เป็นการนำกระบวนการบริหารมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนหลักสูตร การนำ
หลักสูตรไปใช้ ตลอดจนการประเมินผลหลักสูตร ซึ่งการบริหารหลักสูตรใด ๆ
ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้บริหารหลักสูตรควรคำนึงถึงคือ
การเตรียมครูผู้สอน
เพราะว่าครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรนั้นบรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร
โดยครูจะเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนภายในห้องเรียน ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า “ครูผู้สอน คือ
หัวใจของหลักสูตร” และคุณภาพของครูผู้สอนจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุจุดหมายของหลักสูตร ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ผลิตครูนั้น
การผลิตครูหรือพัฒนาครูควรตระหนักถึงคุณภาพของครูด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตครู
ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตให้มีคุณภาพเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียน
และสามารถออกไปใช้หลักสูตรได้
โดยสามารถแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนได้ ดังนั้น
หน่วยงานที่ผลิตครูควรให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามาเรียนวิชาครูหลักสูตรสำหรับผลิตครู
และกระบวนการผลิตครู
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ส่วนกรณีครูประจำการนั้น หน่วยงานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันที่จะเตรียมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ
การศึกษาในอนาคตของประเทศก็คงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
5. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ถือว่ากระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
ถ้าครูผู้สอนรู้จักเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
ก็จะส่งผลต่อการบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร อย่างไรก็ตาม
วิธีการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ ก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป
ซึ่งจะต้องอาศัยการเรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นอย่างเข้าใจ
อันนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
6. การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการ
ควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ ตั้งแต่ระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน
ระดับเขตจนถึงระดับชาติ
ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา ผู้กำกับดูแล
จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ
จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ
ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน
เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน
และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง
7. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ
จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่กี่ยวข้องนอกสถานศึกษา เพื่อระดมความคิด
ประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐฏิจและสังคม
รวมทั้งเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีข้อควรคำนึง 2 ประการ คือ
ต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 และจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้อย่างอิสระ
โดยยึดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในการจัดการศึกษาที่มีความถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
ชุมชน และท้องถิ่น มีความเป็นไปได้
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกันสร้างหลักสูตร
และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
1.
ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.
ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
3.
ปัญหาการจัดอบรมครู
4.
ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร
ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5.
ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
6.
ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7.
ปัญหาขาดแคลนเอกสาร
เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ
วิธีการพัฒนาหลักสูตร มี 5 วิธีการ
1.
การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.
การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3. การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4. การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.
การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
1. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ (เครือข่ายวิชาการ วิชาชีพ)
2.
พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development)
-
จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น เช่น
หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ
หลักสูตรเฉพาะกิจ หลักสูตรฝึกอบรม
4. เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
5. มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ
เช่น เวียตนาม เขมร ลาว
มลายู
6. มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา
7.
หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และความสามารถในการสื่อสาร พัฒนาคนให้คิดกว้าง คิดไกล
ใฝ่รู้
8.
ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทย ต้องรู้เขารู้เรา
9.
พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น
40 %
10. จัดการเรียนการสอน
โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
11.
จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น