ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย
1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร
ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย
การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก
ทำให้เด็กเกิดความเครียด
- การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่
- แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น
และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น
- สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน
- มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน
- ทำให้ครูเกิดความสับสน
ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ ปวช.
คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ
เช่น อ่าน สะกดคำไม่ได้
ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา
แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้
เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส
- ยังไม่เหมาะสม
เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
สภาพและปัญหาของหลักสูตร
1. การกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
2. คุณภาพการศึกษา
3. หลักสูตรและการเรียนการสอน
4. การบริหารและการจัดการศึกษา
5. งบประมาณและการลงทุนทางการศึกษา
6. คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
7. แนวโน้มผู้เข้าเรียน
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษา
การศึกษาสำหรับเด็กเล็ก
และก่อนประถมศึกษาจะขยายตัวมากกว่าระดับอื่น
- การเพิ่มคุณภาพของครูประถม
- การเพิ่มงบประมาณ
การปรับปรุงคุณภาพ และหลักสูตรโดยเน้นการประกอบอาชีพ
- การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
- การยุบโรงเรียนรวมเข้าด้วยกันแทนการสร้างโรงเรียนแห่งใหม่
แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษา
- เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร
- มีความสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมทักษะการทำงานและการดำเนินชีวิต
- มีความสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
- มีแนวทางที่จะเลือกดำเนินชีวิต
- มีความสามารถพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของตนเองให้เจริญถึงขีดสุด
- มีความสามารถที่จะนำตนเองได้
การควบคุมตนเองได้
- มีโลกทัศน์ที่กว้างและมีน้ำใจแบบนานาชาติรวมทั้งมีค่านิยมและความสำนึกในความเป็นชาติไทยของตน
- มีค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม
- มีสุนทรียภาพในการดำเนินชีวิต
สภาพปัญหาการพัฒนาหลักสูตรของอุดมศึกษา
- ขาดแคลนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์โดยเฉพาะสาขาวิชาที่มีความต้องการมากทางด้านวิทยาศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรกรรม
- อุดมศึกษามุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ
ละเลยคุณธรรม จริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม
- มหาวิทยาลัยมักเลียนแบบต่างประเทศโดยไม่เข้าใจ
หลักการและเป้าหมายที่แท้จริงของหลักการที่เลียนแบบ
- การเรียนการสอนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติเน้นความรู้มากกว่าการนำไปใช้
- การตื่นตัวทางการวิจัยมุ่งการกำหนดให้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเน้นการวิจัยมากเกินไปจนทำให้ลดความสำคัญด้านการสอน
- กลุ่มผู้บริหารอุดมศึกษามีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง
- งบประมาณในการพัฒนาการศึกษาระดับนี้ก็ยังมีไม่เพียงพอ
แนวโน้มสำคัญของการศึกษาไทยใน 5
ปีข้างหน้า
- มุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่
ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษา
หลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชาเรียนช่างยนต์ จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย
เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ
และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา
- หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น
เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน
- การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้นสภาพโลกาภิวัฒน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก
- ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลดลง
- โอกาสรับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/543276
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น