แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แบบจำลองของไทเลอร์
ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
(ฉบับร่าง)
ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
แสดงดังภาพประกอบที่1
ภาพประกอบ 1 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ที่มา : Allan
C. Ornstien & Francis P. Hunkins, (1998
: 198).
ไทเลอร์มองว่า
นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม
ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต
ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม
ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4
ประเด็น คือ
1.
ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์
ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2.
โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3.
ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4.
ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา
ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น
หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้
ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย
ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1.
ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2.
ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3.
ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว
ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1.
พัฒนาทักษะการคิด
2.
ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4.
ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น